การพัฒนาการมีส่วนร่วมของเครือข่ายที่ปรึกษาเพื่อการพัฒนาการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการในจังหวัดจันทบุรี
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการมีส่วนร่วม ระดับการมีส่วนร่วม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วม ปัญหา อุปสรรค และแนวทางการแก้ไขปัญหา รวมถึงรูปแบบการพัฒนาการมีส่วนร่วมของเครือข่ายที่ปรึกษาเพื่อการพัฒนาการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการในจังหวัดจันทบุรี ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมประชากร คือ เครือข่ายที่ปรึกษาในจังหวัดจันทบุรี จำนวน 145 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ เป็นตัวแทนเครือข่ายที่ปรึกษาในจังหวัดจันทบุรี จำนวน 12 คน
ผลการวิจัยพบว่า เครือข่ายที่ปรึกษาส่วนใหญ่เข้าไปมีส่วนร่วมครบทุกกระบวนการ ยกเว้น ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาสังคม และมีระดับการมีส่วนร่วมโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยที่สามารถทำนายการมีส่วนร่วม ได้แก่ การสนับสนุนจากภาครัฐ และการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ปัญหาอุปสรรค ประกอบด้วย 1) ปัญหาอุปสรรคด้านภาครัฐ เช่น ข้อจำกัดด้านกฎหมาย ทัศนคติของผู้บริหาร และ 2) ปัญหาอุปสรรคด้านเครือข่ายที่ปรึกษา เช่น ความรู้ความเข้าใจ ความต่อเนื่อง และสัดส่วนของภาคประชาสังคมสำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหา ได้แก่ 1) การสร้างความรู้ความเข้าใจ 2) สร้างทัศนคติผู้บริหาร 3) สร้างความเข้มแข็งให้แก่ภาคธุรกิจเอกชนและภาคประชาสังคม 4) สร้างความเชื่อมโยงการทำงาน 5) สร้างกลไกการสะท้อนปัญหา และ 6) ปรับการดำเนินภารกิจของเครือข่ายรูปแบบการพัฒนาการจะต้องเริ่มตั้งแต่การพัฒนาก่อนการเข้าสู่กระบวนการมีส่วนร่วม ไปจนถึงการพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วม เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของเครือข่ายที่ปรึกษาให้มีความเข้มแข็ง และยั่งยืนต่อไป