การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ รู้จักอาเซียนและความพึงพอใจต่อการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดก

Main Article Content

Xuan Dinh ThiThanh
สิทธิศักดิ์ จุลศิริพงษ์

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)  เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้  รู้จักอาเซียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD 2)  เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ รู้จักอาเซียน   ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD 3)  เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้  รู้จักอาเซียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD หลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 4)  เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD


        กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนสวนหม่อน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการเรียน วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ ทดสอบค่าที               (t-test) แบบไม่เป็นอิสระและแบบกลุ่มเดี่ยว ผลการศึกษา พบว่า 


  1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ รู้จักอาเซียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค  STAD พบว่า ก่อนเรียนได้คะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 8.82 คะแนน หลังเรียนได้คะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 15.67 คะแนน ความก้าวหน้า คะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 6.85 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 34.24

  1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ รู้จักอาเซียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ รู้จักอาเซียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

        4.  ความพึงพอใจต่อการเรียน หน่วยการเรียนรู้ รู้จักอาเซียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Articles)