การพัฒนาแบบวัดการร่วมมือรวมพลังเชิงสถานการณ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบวัดการร่วมมือรวมพลังเชิงสถานการณ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ตรวจสอบความตรง อำนาจจำแนก ความเที่ยง
และสร้างเกณฑ์ปกติในจังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 420 คน จาก 12 ห้องเรียน ได้จากวิธีการสุ่ม 2 ขั้นตอน การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย ค่าดัชนีความสอดคล้อง สถิติทดสอบที การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ
และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค โดยใช้ โปรแกรมสำเร็จรูป และสร้างเกณฑ์ปกติ ผลการวิจัยพบว่า 1) แบบวัดการร่วมมือรวมพลังเชิงสถานการณ์ที่สร้างขึ้น จำนวน 38 ข้อ
มีค่าอำนาจจำแนกผ่านเกณฑ์ 2) แบบวัดประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่
การร่วมมือรวมพลังโดยการมีความเป็นผู้นำ การร่วมมือรวมพลังโดยการแก้ไขข้อขัดแย้ง
ด้วยวิธีการเจรจาต่อรอง การร่วมมือรวมพลังโดยการมีทักษะกระบวนการร่วมทำงาน
และการร่วมมือรวมพลังโดยการบริหารการดำเนินงาน และความเที่ยงมีค่าเท่ากับ 0.922
3) เกณฑ์ปกติของจังหวัดนครราชสีมา คือ มีคะแนนทีปกติระหว่าง T22-T76 โดยนักเรียน
ที่ได้คะแนน 131 คะแนน จะได้คะแนนทีปกติเป็น T50