การศึกษาความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์และการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค CIRC
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความสามารถในการอ่าน เชิงวิเคราะห์และการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค CIRC ก่อนและหลังเรียน และหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 60 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนโชคชัยสามัคคี ตำบลโชคชัย อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 40 คน เครื่องมือ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัดความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ และแบบวัดความสามารถในการเขียนภาษาไทย สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที (t-test) ผลการศึกษา พบว่า นักเรียนมีความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ ก่อนเรียนได้คะแนนเฉลี่ย 19.27 หรือคิดเป็นร้อยละ 48.19 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3.94 และหลังเรียนเฉลี่ย 30.02 หรือ คิดเป็นร้อยละ 75.07 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.75 และความก้าวหน้าเฉลี่ย 10.75 หรือคิดเป็นร้อยละ 26.88 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.78 ส่วนความสามารถในการเขียนภาษาไทย ก่อนเรียนได้คะแนนเฉลี่ย 8.67 หรือคิดเป็นร้อยละ 48.19 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.36 หลังเรียนคะแนนเฉลี่ย 15.32 หรือคิดเป็นร้อยละ 76.62 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.68 มีความก้าวหน้าเฉลี่ย 6.65 หรือคิดเป็นร้อยละ 33.25 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.51 และหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05