Attitude on River Deterioration and Quality of Life of People in Li Watershed, Lumphun Province
Main Article Content
Abstract
การศึกษาแบบผสานวิธีครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์มิติสังคม ทัศนคติต่อความเสื่อมสภาพของแม่น้ำและระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนรวมถึงวิเคราะห์ปัจจัยพยากรณ์คุณภาพชีวิตของประชาชน กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนในพื้นที่ลุ่มน้ำลี้ จังหวัดลำพูน จำนวน 323 ครัวเรือนและผู้มีส่วนได้เสีย จำนวน 12 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเส้นตรง และการวิเคราะห์แบบอุปนัย
ผลการศึกษา พบว่า ประชาชนมีทัศนคติต่อความเสื่อมสภาพของแม่น้ำลี้โดยเฉลี่ยระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 2.08 ± 0.71) ระดับคุณภาพชีวิตโดยรวมเฉลี่ยระดับดี (ค่าเฉลี่ย 3.81 ± 0.98) อายุและทัศนคติต่อความเสื่อมสภาพของแม่น้ำลี้สามารถพยากรณ์ระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 (p – value = 0.009 และ 0.022 ตามลำดับ) ทั้งนี้สภาพความเสื่อมสภาพของแม่น้ำลี้ในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงในระดับสูงทั้งคุณภาพน้ำที่เสื่อมโทรมและการเปลี่ยนแปลงทางด้านปริมาณการไหลและแห้งขอด สาเหตุมาจากกิจกรรมการใช้ประโยชน์แม่น้ำของประชาชนในลุ่มน้ำ และการบริหารจัดการการใช้ประโยชน์แม่น้ำที่ไม่มีประสิทธิภาพ