ผลของการประยุกต์ใช้หลัก 3อ. 2ส. ร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมเพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของประชาชนกลุ่มเสี่ยงรายใหม่

Main Article Content

Sasiwan Tassana-iem
สำรวย กลยณี

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


          การวิจัยเป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของการประยุกต์ใช้หลัก 3อ. 2ส. ร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมเพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่างได้แก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยงรายใหม่ เขตพื้นที่ตำบลบ้านนาคำ จังหวัดสกลนคร จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นการประยุกต์ใช้หลัก 3อ. 2ส. ร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมเพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่พัฒนาขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติโดยสถิติเชิงพรรณนาเปรียบเทียบความแตกต่างก่อนและหลังการทดลองด้วยสถิติ paired – sample t-test       ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลองประชาชนกลุ่มเสี่ยงรายใหม่มีระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร ระดับความดันโลหิต Triglyceride ดัชนีมวลกาย และรอบเอว ลดลงน้อยกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value = < 0.001, 0.009, < 0.001, < 0.001, < 0.001 ตามลำดับ) แสดงว่าหลังการประยุกต์ใช้หลัก 3อ. 2ส. ร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมทำให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงรายใหม่ลดความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้ ผลการวิจัยนี้ได้แนวปฏิบัติในการลดความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยงรายใหม่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางการดำเนินงานในกลุ่มที่มีลักษณะคล้ายกลุ่มตัวอย่างได้เพื่อลดอัตราผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงต่อไป


 

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

พัชราภรณ์ วงศ์ษาบุตร, มนรดา แข็งแรง, บุรีญา ไกยวงศ์, ปพิชญา กายากุล และวรรณี ศิริสุนทร. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ แรงสนับสนุนทางสังคมกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสามขา จังหวัดมุกดาหาร. การประชุมวิชาการและนาเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 3 “นวัตกรรมที่พลิกโฉมสังคมโลก”: 1244 – 1253.
เพชราภรณ์ คำเอี่ยมรัตน์. (2558). ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองตามหลัก 3อ.2ส. ของประชาชน กลุ่มเสี่ยงสูงโรคเบาหวาน ตำบลทุ่ม อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 8(3): 4-11.
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาคำ. (2561). ระบบฐานข้อมูลสุขภาพคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง.
สารภี แสงเดชและ เพชรไสว ลิ้มตระกูล. (2555). แนวทางการสร้างเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงระยะก่อนความดันโลหิตสูงในชุมชนแห่งหนึ่งของจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ. 35 (1): 39 – 47.
สำนักบริหารการสาธารณสข. (2560). แผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) พ . ศ . 2560 - 2564. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2559). รายงานประจำปี 2558.
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์. (2560). P&P Excellence Forum 2017. Retrieved November 26, 2018, from https://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/PPExcellenceForum2017.pdf
House, J S, Landis, K R, and Umberson, D. (1988). Social relationships and health. Science (New York, N.Y.). 214 (4865): 540-545.
World Health Organization. (2018). Governance: Updating Appendix 3 of the WHO Global NCD Action Plan 2013-2020. Retrieved November 26, 2018, from https://www.who.int/ncds/governance/appendix3-update/en/