การรับรู้และทัศนคติของผู้ประกอบการที่พักที่มีต่อการท่องเที่ยวสีเขียว: โฮมสเตย์บ้านปราสาท
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการรับรู้และทัศนคติของผู้ประกอบการที่พักที่มีต่อการท่องเที่ยวสีเขียว: โฮมสเตย์บ้านปราสาท การท่องเที่ยวสีเขียวตามแนวคิด 7 Greens ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ประกอบการที่พักโฮมสเตย์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ การทดสอบความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทัศนคติที่มีต่อการท่องเที่ยวสีเขียวใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อัลฟาของครอนบาชได้ค่าเท่ากับ 0.802 การทดสอบคำถามความรู้เกี่ยวกับการท่องเที่ยวสีเขียว โดยใช้สูตร KR20 ได้ค่าความเชื่อมั่นได้ค่าเท่ากับ 0.62 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนาและสถิติในการทดสอบสมมติฐาน c2
ผลของการวิจัยพบว่า ผู้ประกอบการที่พักโฮมสเตย์ส่วนใหญ่มีการรับรู้ต่อการท่องเที่ยวเขียวระดับปานกลาง มีทัศนคติต่อการท่องเที่ยวเขียวทางบวก มีค่าเฉลี่ย 4.16 เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพการสมรส รายได้จากกิจการโฮมสเตย์เฉลี่ยต่อเดือน ระยะเวลาที่ดำเนินกิจการโฮมสเตย์ ไม่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อการท่องเที่ยวสีเขียว จุดแข็งของผู้ประกอบการที่พัก คือ นโยบายการท่องเที่ยวสีเขียว ทรัพยากรทางวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตชุมชน บทบาทของผู้นำชุมชนและการมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชน การได้รับรองมาตรฐานโฮมสเตย์ไทย รางวัลที่ได้รับจากต่างประเทศ จุดอ่อน คือ การสื่อสารภาษาอังกฤษ การประชาสัมพันธ์ โอกาส คือนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวของรัฐบาล กระแสความนิยมของการท่องเที่ยวสีเขียว อุปสรรค คือ จำนวนผู้ประกอบการโฮมสเตย์ลดลง โครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี งบประมาณที่ได้รับมีจำนวนจำกัดในการพัฒนาสาธารณูปการ การท่องเที่ยวนอกฤดูกาล
คำสำคัญ : การรับรู้ ทัศนคติ ผู้ประกอบการ การท่องเที่ยวสีเขียว
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการรับรู้และทัศนคติของผู้ประกอบการที่พักที่มีต่อการท่องเที่ยวสีเขียว: โฮมสเตย์บ้านปราสาท การท่องเที่ยวสีเขียวตามแนวคิด 7 Greens ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ประกอบการที่พักโฮมสเตย์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ การทดสอบความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทัศนคติที่มีต่อการท่องเที่ยวสีเขียวใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อัลฟาของครอนบาชได้ค่าเท่ากับ 0.802 การทดสอบคำถามความรู้เกี่ยวกับการท่องเที่ยวสีเขียว โดยใช้สูตร KR20 ได้ค่าความเชื่อมั่นได้ค่าเท่ากับ 0.62 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนาและสถิติในการทดสอบสมมติฐาน c2
ผลของการวิจัยพบว่า ผู้ประกอบการที่พักโฮมสเตย์ส่วนใหญ่มีการรับรู้ต่อการท่องเที่ยวเขียวระดับปานกลาง มีทัศนคติต่อการท่องเที่ยวเขียวทางบวก มีค่าเฉลี่ย 4.16 เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพการสมรส รายได้จากกิจการโฮมสเตย์เฉลี่ยต่อเดือน ระยะเวลาที่ดำเนินกิจการโฮมสเตย์ ไม่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อการท่องเที่ยวสีเขียว จุดแข็งของผู้ประกอบการที่พัก คือ นโยบายการท่องเที่ยวสีเขียว ทรัพยากรทางวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตชุมชน บทบาทของผู้นำชุมชนและการมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชน การได้รับรองมาตรฐานโฮมสเตย์ไทย รางวัลที่ได้รับจากต่างประเทศ จุดอ่อน คือ การสื่อสารภาษาอังกฤษ การประชาสัมพันธ์ โอกาส คือนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวของรัฐบาล กระแสความนิยมของการท่องเที่ยวสีเขียว อุปสรรค คือ จำนวนผู้ประกอบการโฮมสเตย์ลดลง โครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี งบประมาณที่ได้รับมีจำนวนจำกัดในการพัฒนาสาธารณูปการ การท่องเที่ยวนอกฤดูกาล
Article Details
References
พัชรศร กนิษฐะสุนทร. (2559). การศึกษาอุปสงค์การท่องเที่ยวแบบ Green Tourism ของผู้อาศัย
ในเขต กทม. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
พิมพาภรณ์ สุวัตถิกุล. (2547). การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม : ปัจจัยเพื่อการพัฒนาและส่งเสริม
การท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
ภัทร์ธนกัลย์ เตี่ยไพบูลย์. (2557). การศึกษาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยชุมชน บ้านหัว
นอนวัด ตำบลแม่ทอม อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต,
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).
ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์. (2548). การวิจัยประเมินผล : หลักการและกระบวน. กรุงเทพฯ: ที พี
เอ็นเพรส.
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. (2561). การท่องเที่ยวกับ
ภาวะโลกร้อน. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2561, จาก http://www.dasta.or.th/th. component/
k2.item.671-671