การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้บนระบบคลาวด์คอมพิวติงตามแนวคิดคอนเน็คติวิสต์ซึมเพื่อส่งเสริมการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการจัดการเรียนรู้บนระบบคลาวด์คอมพิวติงตามแนวคิดคอนเน็คติวิสต์ซึมเพื่อส่งเสริมการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้บนระบบคลาวด์คอมพิวติงตามแนวคิดคอนเน็คติวิสต์ซึมเพื่อส่งเสริมการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี และ 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้บนระบบคลาวด์คอมพิวติงตามแนวคิดคอนเน็คติวิสต์ซึมเพื่อส่งเสริมการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ในการเรียนการสอนซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้บนระบบคลาวด์คอมพิวติงฯ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ 3) แบบประเมินทักษะการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 4) แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้บนระบบคลาวด์คอมพิวติงตามแนวคิดคอนเน็คติวิสต์ซึมฯ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก 1) องค์ประกอบด้านระบบการจัดการเรียนรู้ 2) องค์ประกอบด้านสภาพแวดล้อมบนระบบจัดการเรียนรู้ 3) องค์ประกอบด้านคลาวด์คอมพิวติงหรือคลาวด์เซอร์วิส 4) องค์ประกอบด้านผู้เรียน ผู้สอนและผู้จัดการระบบ ซึ่งได้รับการประเมินจากผูเชี่ยวชาญอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.58 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.49 2) ค่าคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ทักษะการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารโดยประเมินจากแฟ้มสะสมงานของผู้เรียนอยู่ในระดับดี 73.7 และ 4) ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้บนระบบคลาวด์คอมพิวติงแนวคิดคอนเน็คติวิสต์ซึมฯ อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.64 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.45
Article Details
References
กุลชัย กุลตวนิช. (2557). ระบบการเรียนบนห้องเรียนเสมือนแบบคลาวด์ตามแนวคิดการเรียนรู้คอนเน็คติวิสม์เพื่อส่งเสริมการรู้สารสนเทศและการรับรู้ความสามารถของตนเองด้านการรู้สารสนเทศสำหรับนิสิตนักศึกษาปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2549). ระบบบริหารจัดการการเรียนรู้แห่งอนาคต: Next-Generation Learning Management System. สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2559, จาก http://thanompo.edu. cmu.ac.th,
เสมอกาญจน์ โสภณหิรัญรักษ์ และ ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ. (2555). “มุมมองของผู้สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงในโปรแกรมอีเลิร์นนิง เพื่อการส่งเสริมการนำการเรียนการสอนแบบอีเลิร์นนิงไปใช้ใน ระดับอุดมศึกษา (Perspective of Change Facilitators in eLearning Program for Promoting e-Learning Implementation in Higher Education)”, การประชุมวิชาการ ระดับชาติด้าน อีเลิร์นนิง บูรณาการการเรียนรู้ออนไลน์ประชาคม อาเซียน: นโยบายและกระบวนการ (Integrating ASEAN Online learning: Policy and Process, 73-80.
อนุชิต อนุพันธ์ และ ปณิตา วรรณพิรุณ. (2556). การออกแบบระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการความรู้เพื่อสนับสนุนการสร้างองค์ความรู้ผ่านสภาพแวดล้อมแบบคลาวด์ สำหรับสถาบันอุดมศึกษา. Paper presented at the NEC2013: TCU National e- Learning Conference 2013.
Aaron, L.S. and C.M. Roche. (2011). Teaching, learning, and collaborating in the cloud:
Applications of cloud computing for educators in post-secondary institutions. Journal of Educational Technology Systems 40(2): 95-111.
Denton, D.W. (2012). Enhancing instruction through constructivism, cooperative learning, and cloud computing. TechTrends 56(4): 34-41.
Harasim, L. (2012). Learning Theory and Online Technologies. London: Routledge.
McGee, P. (2003). Course Management Systems for Learning: Future Designs. Retrieved August 1, 2016, from http://coehd.utsa.edu/users/pmcgee/ngcms.htm#topics.
Siemens, G. (2004). Connectivism: A Learning Theory for the Digital Age. Retrieved June 25, 2016, from http://www.elearnspace.org/Articles/connectivism.htm.
Siemens, G. (2005). Connectivism: A learning theory for the digital age.
International of Instructional Technology and Distance Learning 2(1): 3-10.
Unesco. (2008). Strategy Framework for promoting ICT literacy in the Asia-Pacific region. Unesco Bangkok: Printed in Thailand.