การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ กฎหมายและการเมืองเรื่องใกล้ตัว และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับแผนผังมโนทัศน์

Main Article Content

ภรภัทร พลาทิพย์
วาสนา กีรติจำเริญ

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับแผนผังมโนทัศน์  และ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับแผนผังมโนทัศน์กับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/7 จำนวน 50 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนสุรนารีวิทยา ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับแผนผังมโนทัศน์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที
      ผลการศึกษา พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหน่วยการเรียนรู้กฎหมายและการเมืองเรื่องใกล้ตัว  และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับแผนผังมโนทัศน์สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหน่วยการเรียนรู้กฎหมาย หลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

1. กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
2. ชไมพร เลากลาง. (2558). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหน่วยการเรียนรู้ พืชมีการตอบสนอง และความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา)
3. ทิศนา แขมมณี. (2551). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
4. ณัฐพร เอี่ยมทอง, คมสัน ตรีไพบูลย์และปริญญา ทองสอน. (2561). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยรูปแบบ Problem-based learning กับรูปแบบการสอนปกติ. วารสารราชพฤกษ์, 16(2), น. 53-60
5. นันทนา ฐานวิเศษและวาสนา กีรติจำเริญ. (2561). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหน่วยการเรียนรู้งานและพลังงาน และความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 29(2), น. 43 – 50.
6. ธูปทอง กว้างสวาสดิ์. (2561). การสอนคิดวิจารณญาณ. วารสารราชพฤกษ์, 16(3), น. 1-9
7. มัณฑรา ธรรมบุศย์. (2545). การพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้โดยใช้ PBL (Problem-Based Learning). วารสารวิชาการ, 2545(2), น. 11-17
8. โรงเรียนสุรนารีวิทยา. (2560). รายงานการประเมินตนเอง (Self-assessment report: SAR) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โรงเรียนสุรนารีวิทยา. [เอกสาร
อัดสำเนา]. นครราชสีมา: โรงเรียนสุรนารีวิทยา.
9. ลออ อางนานนท์. (2542). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนความคิดสร้างสรรค์กลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตเรื่องสิ่งแวดล้อมทางสังคมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับ
การสอนโดยใช้แผนผังมโนทัศน์. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ)
10. วลัยพร เพ็งกรูด. (2554). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ เทคโนโลยีเพื่อชีวิต พฤติกรรมและความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จากการเรียนรู้โดยการใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL). (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา).
11. วัชรา เล่าเรียนดี. (2556). รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
12. วีรญา นรารัตน์. (2560). การพัฒนาแบบวัดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณในศตวรรษที่ 21 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา).
13. ศิรินทรา กลักโพธิ์. (2557). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหน่วยการเรียนรู้โลกและการเปลี่ยนแปลง และความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จากการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา).
14. สถาบันส่งเสริมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
15. สุคนธ์ สินธพานนท์ และคณะ. (2551). พัฒนาทักษะการคิด พิชิตการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: เลี่ยงเชียง.
16. สุภาพร ใจกล้า. (2562). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ รักษ์สิ่งแวดล้อม และความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จากการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา, 13 (1), น. 177 -189.
17. สุวิทย์ มูลคํา. (2547). กลยุทธ์การสอนคิดเชิงมโนทัศน์. กรุงเทพฯ: บริษัทดวงกมลสมัย.
18. _________. (2553). ครบเครื่องเรื่องการคิด (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
19. สมบูรณ์ ตันยะ. (2556). การวิจัยทางการศึกษา. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
20. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย
21. _________. (2560). แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560–2579. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์บริษัทพริกหวานกราฟฟิก.
22. อรุณ เชื้อสีดา. (2554). การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้ผังมโนทัศน์. (วิทยานิพนธ์
มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น)
23. Ennis,R. (1985). A Logical Basic for Measuring Critical Thinking Skills. Educational Leadership, p.45. (n.p.)
24. Prayekti. (2016). Effect of problem-based learning model versus expository model and motivation to achieve for student’s physic learning result of senior high school at
class xi. Journal of education and practice, 7(1), pp. 30-37 Retrieved June 1, 2019, from https://www.semanticscholar.org/paper/Effects-of-Problem-Based-
Learning-Model-Versus-andPrayekti/d62e53e466ca9dea0577b9b4a9cc5cd1c42f5786
25. Tandogan, R.O. and Orhan, A. (2007). The effects of problem-based active learning in science education on student’ academic achievement, attitude and concept
learning. Online Submission, 3(1), pp. 71-81.