รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะผู้นำที่เสริมสร้างประสิทธิภาพการบริหารภาคีเครือข่ายจัดการศึกษานอกโรงเรียนของผู้บริหารการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอสังกัดกลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์

Main Article Content

จุรารัตน์ เพ็ชรจันทึก
สุวัฒน์ ช่างเหล็ก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณลักษณะผู้นำของผู้บริหารการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ เพื่อศึกษาความต้องการพัฒนาคุณลักษณะผู้นำของผู้บริหารการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะผู้นำของผู้บริหารการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอและเพื่อประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำไปใช้จริงของรูปแบบ การดำเนินการวิจัยมี 5 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 การศึกษาคุณลักษณะผู้นำของผู้บริหารการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ ขั้นที่ 2 การศึกษาความต้องการพัฒนาคุณลักษณะผู้นำของผู้บริหารการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ ขั้นที่ 3 การสร้างรูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะผู้นำของผู้บริหารการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ ขั้นที่ 4 การประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำไปใช้จริงของรูปแบบ และขั้นที่ 5 การสรุปรูปแบบและจัดทำคู่มือการใช้รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะผู้นำของผู้บริหารการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ เครื่องมือในการวิจัยมี 2 แบบ คือ แบบสอบถามความต้องการพัฒนาคุณลักษณะผู้นำของผู้บริหารการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำไปใช้จริงของรูปแบบ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย คือผู้บริหารการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ สังกัดกลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์ จำนวน 88 คน ผู้ทรงคุณวุฒิในการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำไปใช้จริงของรูปแบบ มี 2 กลุ่ม คือผู้ทรงคุณวุฒิระดับปฏิบัติการและผู้ทรงคุณวุฒิระดับเชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน ใช้การเลือกแบบเจาะจง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณลักษณะผู้นำที่เสริมสร้างประสิทธิภาพการบริหารภาคีเครือข่ายจัดการศึกษานอกโรงเรียนของผู้บริหารการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอสังกัดกลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์ แบ่งเป็น 4 ด้าน คือ ด้านคุณลักษณะผู้นำทางกาย มีจำนวน 17 คุณลักษณะ ด้านคุณลักษณะผู้นำทางสังคมมีจำนวน 18 คุณลักษณะ ด้านคุณลักษณะผู้นำทางบุคลิกภาพมีจำนวน 19 คุณลักษณะ และด้านคุณลักษณะผู้นำส่วนบุคคล มีจำนวน 16 คุณลักษณะ 2) รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะผู้นำของผู้บริหารการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ มีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 แนวคิดหลักการกำกับรูปแบบ ส่วนที่ 2 วัตถุประสงค์ทั่วไป และส่วนที่ 3 กระบวนการพัฒนาคุณลักษณะผู้นำของผู้บริหารการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ แบ่งเป็น 5 ขั้น คือขั้นที่ 1 การเตรียมการ ขั้นที่ 2 การประเมินก่อนการพัฒนา ขั้นที่ 3 การพัฒนา ขั้นที่ 4 การประเมินหลังการพัฒนา และขั้นที่ 5 การพัฒนาซ้ำผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำไปใช้จริงของรูปแบบ ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะผู้นำที่เสริมสร้างประสิทธิภาพการบริหารภาคีเครือข่ายจัดการศึกษานอกโรงเรียนของผู้บริหารการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ สังกัดกลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดจึงกล่าวได้ว่ารูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะผู้นำของผู้บริหารการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอมีความเหมาะสมและสามารถนำไปใช้ได้จริง

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

กัลยรัตน์ เมืองสง. (2550). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
เบญจพร แก้วมีศรี. (2545). การนำเสนอรูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะภาวะผู้นำของผู้บริหารวิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประสิทธิ์ เขียวศรี. (2544). การนำเสนอแบบจำลองการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหาร โรงเรียนที่บริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปาริชาติ วลัยเสถียร และคณะ. (2543). กระบวนการและเทคนิคการทำงานของนักพัฒนา. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
ไพพรรณ เกียรติโชติชัย. (2545). กระบวนทัศน์ใหม่แห่งการศึกษาในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์การศึกษา.
วันเพ็ญ เจริญแพทย์. (2545). การศึกษาพฤติกรรมการบริหารองค์การแห่งการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2541). การเรียนรู้ : ชุมทรัพย์ในคน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552ก). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561). เอกสาร สกศ. อันดับที่ 57/2552. กรุงเทพ ฯ : พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2554ข). นโยบายและยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง ด้านการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาและเรียนรู้. เอกสาร สกศ. อันดับที่ 3/2554. กรุงเทพฯ : วี ที ซี.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2554ค). นโยบายและยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง ด้านการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาและเรียนรู้. เอกสาร สกศ. อันดับที่ 17/2554. กรุงเทพฯ : กรุงเทพฯ : วี ที ซี.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2554ง). ยุทธศาสตร์และมาตรการการปฏิรูประบบคุรุศึกษาของ ประเทศ. เอกสาร สกศ. อันดับที่ 19/2554. กรุงเทพฯ : วี ที ซี.
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. (2552). การส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต. กรุงเทพฯ : รังสีการพิมพ์.
Eisner, E. (1976). “Education connoisseurship and criticism : Their form and functions in education evaluation”. Journal of Aesthetic Education. 39(2) : 192-193.
Frigon, L. and Jackson, K. (1996). The leader. New York : America.
Gardner, J. W. (1990). On leadership. New York : Free.
Wayne, K. Hoy and Cecil G Miskel. (2008). Educational Administration : Theory Research, and Practice. 8th ed. Singapore : McGraw-Hill.
Trewatha, L. Robert (1982). Management. Plano, Texas : Business.