การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวในท้องถิ่น จังหวัดนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวในท้องถิ่นจังหวัดนครราชสีมาเป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนฯ 2) เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาที่เกิดขึ้นจากการใชรู้ปแบบฯ ที่พัฒนาขึ้น การพัฒนารูปแบบฯ แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนฯ ระยะที่ 2 การพัฒนาเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ระยะที่ 3 การประเมินคุณภาพรูปแบบฯ โดยนำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างระดับปริญญาตรี โปรแกรมวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ที่กำลังศึกษารายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวในท้องถิ่น ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 36 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่มเครื่องมือวิจัย คือ แบบทดสอบวัดความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร แบบวัดความรู้เกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวในท้องถิ่น และบันทึกการเรียนรู้ของผู้เรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติที (t-test) ผลการวิจัย พบว่า
1. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น มีกระบวนการจัดการเรียนการสอน 5 ขั้นตอนหลัก คือ ขั้นปฐมนิเทศขั้นเตรียมความพร้อม ขั้นการเก็บรวบรวมข้อมูล ขั้นนำเสนอโครงงาน และขั้นสรุป
2. การประเมินคุณภาพของรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น พบว่านักศึกษากลุ่มทดลองที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและความรู้เกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวในท้องถิ่นหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยนี้สามารถใช้เป็นแนวในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน บทเรียนและกระบวนการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในบริบทการท่องเที่ยวได้
Article Details
References
ทิศนา แขมมณี. (2552). ศาสตร์การสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Ellis, R. (2004). Task-based language learning and teaching. China: Oxford University Press.
Epstein, R., and Ormiston, M. (2007). Tools and Tips for using ELT materials: A guide for teachers. Ann Arbor, Michigan: University of Michigan.
Freid-Booth, D. L. (1997). Project work. (8th ed.). Oxford: Oxford University Press.
Joyce, B., Weil, M., and Calhoun, E. (2011). Models of teaching. 8th ed. Boston: Pearson Prentice Hall.
Kuosuwan, B. (2016). The readiness of English communication skills of tourism employees in Bangkok for entering the ASEAN Community. International Journal of Environmental & Science Education. 11(18): 12903-12907.
Nunan, D. (2004). Task-based language teaching. Cambridge: Cambridge University Press.
Oller, J. W. (1979). Language testing at school: a pragmatic approach. London: Longman.
Prabhu, N. S. (1987). Second language pedagogy. New York: Oxford University Press.
Prachanant, N. (2012). Needs analysis on English language use in tourism industry. In The 8th International Language for Specific Purposes (LSP) Seminar – Aligning Theoretical Knowledge with Professional Practice. Procedia - Social and Behavioral Sciences. (66) 7 December 2012, pp. 117-125. Retrieved December 15, 2017, from DOI: 10.1016/j.sbspro.2012.11.253
Richards, J. C., and Rodgers, T. S. (2014). Approached and methods in language teaching. (3rd ed.). Cambridge: Cambridge University Press.
Sanguanngarm, N. (2010). A development of the English tourist guides course using a task-based approach to enhance the oral English communication ability of Chiang Mai Rajabhat University Undergraduates. (Doctoral dissertation, Chulalongkorn University).
Siritararatn, N. (2007). A development of the English oral communication course using the project-based learning approach to enhance English oral
communication ability of Kasetsart University students. (Doctoral dissertation, Chulalongkorn University).
Stoller, F. L. (2010). Promoting purposeful language learning with project work. Tokyo: The Institute of English Language Education, Rikkyo University.
Sunanratn, T. (2013). A development of English oral communication for marketing course based on the project-based learning approach to
enhance undergraduate students’ oral communication abilities and social skills. (Doctoral dissertation, Chulalongkorn University).
Willis, J. (2000). A framework for task-based learning. Oxford: Longman Handbook.