สมรรถนะบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

Main Article Content

ภานุวัฒน์ กิตติกรวรานนท์ รัตนพิมลพลแสน
ชคัตตรัย รยะสวัสดิ์

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของสมรรถนะบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน 2) เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จำนวน 226 คน โดยใช้สูตรการคำนวณของ Taro Yamane และผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ จำนวน 7 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.770 และแบบสัมภาษณ์มีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ คือ การหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบค่าเอฟ (F-test) หากพบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มตัวอย่างจะทำการทดสอบเป็นรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe)และการวิเคราะห์เนื้อหาสรุปข้อมูลเชิงพรรณนาเป็นความเรียง
ผลการศึกษา พบว่า
     1. สมรรถนะของบุคลากรสายสนับสนุน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า สมรรถนะด้านการบริการที่ดี มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา คือ สมรรถนะด้านการยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรมและจริยธรรมสมรรถนะด้านการทำงานเป็นทีมสมรรถนะด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ และสมรรถนะด้านการสั่งสมความเชี่ยวชาญในงาน
    2. การเปรียบเทียบสมรรถนะของบุคลากรสายสนับสนุน ในภาพรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นด้านการสั่งสมความเชี่ยวชาญในงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

กรรณิการ์ เดชประเสริฐ. (2559). การพัฒนาสมรรถนะที่เหมาะสมในการพัฒนาบุคลากร
สายปฏิบัติการมหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต,
มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์)
จีระศักดิ์ หมั่นจิต. (2557). สมรรถนะหลักในการปฏิบัติงานของข้าราชการศาลยุติธรรมในศาล
จังหวัดมหาสารคาม (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม)
ธีรพจน์ ภูริโสภณ. (2550). สมรรถนะในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ
ที่ไม่ใช่ข้าราชการในมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. (การค้นคว้าอิสระรัฐ
ประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม)
เนตรนภา ตะลาด. (2560). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะหลักของบุคลากรสายสนับสนุน
ด้านวิชาการมหาวิทยาลัยขอนแก่น (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น)
บุญชม ศรีสะอาด. (2535). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : ชมรมเด็ก, 2535.
พิสมัย ชัยมหา. (2558). สมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรหน่วยงานสังกัดสำนักงานอัยการ
สูงสุด ภาค 1 (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา)
ประภัสสร มีน้อย. (2553). การสร้างสมรรถนะหลักของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ
มหาวิทยาลัย ราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง จากกรอบคุณลักษณะของบุคลากรในส่วนราชการ
(วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน. (2561). แผนการบริหารและพัฒนาบุคลากร
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน. ระยะ 4 ปี (พ.ศ.2561-พ.ศ.2564).
(เอกสารอัดสำเนา)
รัชนิดา รักกาญจนันท์. (2560). การพัฒนาบุคลากรตามกรอบสมรรถนะของข้าราชการ
สายงานวิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต,
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
สุรพงษ์ มาลี. (2549). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามหลักสมรรถนะ. ประมวลสาระชุดวิชา
การบริหารทรัพยากรมนุษย์. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
สมนึก ลิ้มอารีย์. (2552). การศึกษาสมรรถนะหลักของบุคลากรทางการศึกษาที่ปฏิบัติงานใน
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 3. (การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต,
มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย)
สมฤทัย อยู่รอต (2555). ความคิดเห็นเกี่ยวกับสมรรถนะหลักของพนักงานมหาวิทยาลัย (สายสนับสนุน)
สังกัดสํานักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต,
มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี)
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2553) คู่มือการกำหนดสมรรถนะในราชการพลเรือน:
คู่มือสมรรถนะหลัก. กรุงเทพฯ : ประชุมช่าง.
สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2551). ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพการศึกษา :
ระเบียบวาระแห่งชาติ (พ.ศ. 2551-2555). กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.
สังวาล เขื่อนคำ. (2554). การพัฒนาบุคลากรสายวนับสนุนการสอนของโรงเรียนวารีเชียงใหม่.
(การศึกษาค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)