การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบแผนผังมโนทัศน์ เรื่องระบบย่อยอาหาร เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงระบบและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

ปิยะพรรณ ปลาโสม
สมสงวน ปัสสาโก

บทคัดย่อ

       การวิจัยนี้เป็นการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดเชิงระบบโดยใช้ผังมโนทัศน์ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อเปรียบเทียบการคิดเชิงระบบระหว่างก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้  2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบแผนผังมโนทัศน์ กับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการคิดเชิงระบบกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/5 จำนวน 39 คน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนอนุกูลนารี จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัดการคิดเชิงระบบ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติการทดสอบทีสหสัมพันธ์อย่างง่าย และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ
       ผลการวิจัย พบว่า 1) การคิดเชิงระบบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  3) ความสัมพันธ์ระหว่างการคิดเชิงระบบและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีความสัมพันธ์กันในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งการคิดเชิงระบบช่วยสนับสนุนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้ดีขึ้นได้ถึงร้อยละ 90

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช
2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
ทวีศิลป์ กุลนภาดล. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการคิดกับผลสัมฤทธิ์การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนของนักศึกษาครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์. วารสาร
ศึกษาศาสตร์ มสธ, 6(2), 9-19.
บุญเลี้ยง ทุมทอง (2553). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิดเชิงระบบ วิชาคณิตศาสตร์ ระดับช่วงชั้นที่ 4 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต).
ภาณุพงศ์ โคนชัยภูมิ. (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะศึกษา เรื่อง การสังเคราะห์ด้วยแสง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถ
ด้านการคิดเชิงระบบ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).
วิทยา สุหฤทดำรง และศิรศักย์ เทพจิต. (2550). การคิดเชิงระบบ (system thinking: เครื่องมือจัดการความซับซ้อนในโลกธุรกิจ. กรุงเทพฯ: อี.ไอ.สแควร์.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2562). ผลการประเมินการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ. สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2563, จาก http://www.newonetresult.niets.or.th/
AnnouncementWeb/PDF/SummaryONETM6_2562.pdf
สุนีย์ สอนตระกูล. (2535). การพัฒนาระบบการเรียนการสอนแบบจัดอบรมมโนทัศน์สำหรับวิชา ชีววิทยาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต).
สุมนา โสตถิผลอนันต์. (2560). ศึกษาการพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบโดยใช้ การเรียนรู้แบบระดมสมองในการจัดทำผังมโนทัศน์ ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1
หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตวิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. วารสารวิชาการครุศาสตร์, 8(1), น. 200-208.
Cheema, A.B., & Mirza, M.S. (2013). Effect of Concept Mapping On Students’ Academic Achievement. Journal of Research and Reflections in Education 7(2),
pp. 125-132.
Assaraf, O.B.-Z., & Orion, N. (2005). Development of systems thinking skills in the context of earth system education. Journal of Research in Science Teaching.
42(5), pp. 518-560.
Ausubel, D. P. (1968). Educational Psychology: A Cognitive View. New York: Holt, Rinehart & Winston.
Fatokun, K.V.F. & Eniayeju, P.A. (2014). The effect of concept mapping-guided discovery integrated teaching approach on Chemistry students' achievement
and retention. Educational Research and Reviews. 9(22), pp. 1218-1223.
Kreutzer, J.M.G. (2001). Foreword: Systems Dynamies in education, System Dynamic. 9(2) p. 22.
Riess, W. & Mischo, C. (2010). Promoting systems thinking through biology lesson. International Journal of Science Education, 32(6), pp. 705-725.