การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

ณัฐวดี กูละพัฒน์
สิรินาถ จงกลกลาง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ ก่อนและหลังเรียนและหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70  และ 2) เปรียบเทียบทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณก่อนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/5    ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนสุรนารีวิทยา จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 40 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สถิติที่ใช้ ได้แก่  ค่าเฉลี่ย  ร้อยละ  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และการทดสอบค่าที


ผลการศึกษา พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จากการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) นักเรียนมีทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์แห่งประเทศไทย.

กิติพงษ์ ลือนาม. (2561). วิธีวิทยาการวิจัยทางการศึกษา. นครราชสีมา: โคราชมาร์เก็ตติ้ง แอนด์ โปรดักชั่น.

ชนธี ชำนาญกิจ. (2560). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมฐานสมรรถนะทางด้านการใช้ภาษาไทย เพื่อเตรียความพร้อมในการสหกิจศึกษา โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือและแนวคิดการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2556). การพัฒนาการคิด (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2551). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: เฮ้าส์ออฟเคอร์มีสท์.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์กรมหาชน). (2562). ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ(O-NET) ปีการศึกษา 2560-2562. สืบค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2563, จาก http://www.newonetresult.niets.or.th

สมบูรณ์ ตันยะ. (2556). วิธีวิทยาการวิจัยทางการศึกษา. นครราชสีมา: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

สริญญา มารศรี. (2562). การพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ในศตวรรษที่ 21 Developing Critical Thinking Skills in the 21st Century. วารสาร มจร นครน่านปริทรรศน์, 3(2), น. 105-122.

สิรินาถ จงกลกลาง. (2564). การออกแบบการเรียนรู้ตามแนวทางการจัดการศึกษาที่เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้สู่สมรรถนะ [เอกสารประกอบการบรรยาย]. นครราชสีมา: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2558). การจัดการเรียนรู้ของครูยุคใหม่...เพื่อพัฒนาทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

สิทธิเดช สอนจังหรีด และสิรินาถ จงกลกลาง. (2560). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหน่วยการเรียนรู้พินิจวรรณกรรม และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบ. วารสารราชพฤกษ์, 15(1), น. 88-95.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562ก). เข้าใจสมรรถนะอย่างง่ายๆ ฉบับประชาชน และเข้าใจหลักสูตรฐานสมรรถนะอย่างง่ายๆ ฉบับครู ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: 21 เซ็นจูรี่.

________. (2562ข). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: 21 เซ็นจูรี่.

________. (2563). การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุก. กรุงเทพฯ: 21 เซ็นจูรี่.

Soares, L. (2012). A ‘Disruptive’ Look at Competency-Based Education. Retrieved October 10, 2020, from https://www.americanprogress.org/issues/educationpostsecondary/reports/2012/06/07/11680/a-disruptive-look-at-competency-based-education/

Walton, J. (2017). Competency-Based Education: Definitions and Difference Makers. Retrieved May 9, 2021, from https://www.gettingsmart.com/2017/12/competency-based-education-definitions-and-difference-makers/