การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ด้วยเทคนิคหมวกหกใบ วัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ก่อนเรียนและหลังเรียน และ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ หลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตแห่งหนึ่ง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 23 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สถิติใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการศึกษา พบว่า 1) นักเรียน ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กนกทิพย์ ประเสริฐ. (2554). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ดินแดนร่มเย็นและการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการคิดหมวก 6 ใบ (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา).
กิติพงษ์ ลือนาม. (2561). วิธีการวิจัยทางการศึกษา. นครราชสีมา: โคราช มาร์เก็ตติ้ง โปรดักชั้น.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์.(2554). การจัดการเรียนรู้แนวใหม่. นนทบุรี: สหมิตรพริ้นติ้ง.
นภัสวรรณ จงสอน. (2556). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์หน่วยเศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวันของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยความคิดแบบหมวกหกใบ (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2556). การพัฒนาการคิด (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2557). การจัดการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. (2562). สรุปผลการทดสอบทักษะความสามารถ คิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 [เอกสารอัดสำเนา]. นครราชสีมา: ผู้แต่ง.
ลำพอง ฉัตรสุวรรณ. (2556). การปฏิบัติการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ โดยการจัดการ แบบหมวกหกใบ กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา อุบลราชธานี เขต 3 (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี).
วัชรา เล่าเรียนดี. (2550). เทคนิคและยุทธวิธีพัฒนาทักษะการคิดการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. นครปฐม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2559).รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2563, จาก https://www.niets.or.th/th/catalog/view/280.
สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). การจัดการเรียนรู้แบบพัฒนากระบวนการคิดด้วยการใช้คำถามหมวกความคิด 6 ใบ. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
สิทธิเดช สอนจังหรีด. (2559). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหน่วยการเรียนรู้พินิจวรรณกรรมและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบ (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา).
สุคนธ์ สินธพานนท์, วรรัตน์ วรรณเลิศลักษณ์ และพรรณี สินธพานนท์. (2555).พัฒนาทักษะการคิดตามแนวทางปฏิบัติรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
อนุทิน หรพูน, รุ่งทิวา จันวัฒนวงษ์ และจุฬามาศ จันทร์ศรีสุคต. (2561). ผลของกรณีศึกษาเสริมด้วยเทคนิคหมวกหกใบต่อความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร).
Bloom, S. (1956). Taxonomy of education objectives. New York: David Mc Kay Company.
De Bono, E. (1999). Six thinking hats. The McQueen Group inc. 1985-1999. London: Haeler Brownlow Education.
Koray, O. (2005). Students’ perceptions about using six thinking hats and attribute listing techniques in the Science course. Educational Administration: Theory & Practice, 43(1), pp. 379-400.
Onmar, S. A. (2015). The effect of six thinking hats based on program in Hussein university. Journal of Educational and Practice, 2(1), pp. 14-28.