การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างความสุขในการเรียนรู้ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

Main Article Content

บุญยกร ประกอบวรการ
อดิศร เนาวนนท์
สมบูรณ์ ตันยะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบ และตัวชี้วัดความสุขในการเรียนรู้ และแนวทางการเรียนการสอน เพื่อเสริมสร้างความสุขในการเรียนรู้ 2) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอน เพื่อเสริมสร้างความสุขในการเรียนรู้ 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอน เพื่อเสริมสร้างความสุขในการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างในขั้นตอนการศึกษาผลการใช้รูปแบบเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 15 คน โรงเรียนบ้านงิ้ว ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสังเกตการสอน แบบวัดความสุขในการเรียนรู้ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้วิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{X}) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (t-test)


ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบ และตัวชี้วัดความสุข มี 2 ด้าน ได้แก่ ด้านนักเรียน และด้านเพื่อน แนวทางการเรียนการสอน มี 3 ด้าน คือ ด้านครูผู้สอน ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านการวัดและประเมินผล 2) รูปแบบมีองค์ประกอบ 5 ด้าน ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ การจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล และเงื่อนไขความสำเร็จ ผลการตรวจสอบรูปแบบ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 3) การทดลองใช้รูปแบบ พบว่า นักเรียนมีความสุขในการเรียนรู้ และมีผลสัมฤทธิ์การเรียนหลังการใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05 โดยนักเรียนมีความพึงพอใจ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 (ฉบับที่ 2)และที่แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2545. กรุงเทพฯ: สยามสปอร์ต ซินดิเค.

กิตติชัย สุธาสิโนบล. (2558). การจัดการเรียนการสอนแบบพุทธ เพื่อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม สำหรับนักเรียน. กรุงเทพฯ: คอมเมอร์เชียล เวิลด์ มีเดีย.

ฐิติรัตน์ วสิษฐ์พลพงศ์. (2558). ผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้อย่างมีความสุขเชิงพุทธบูรณาการในการสอนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

ทิศนา แขมมณี. (2559). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 20). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธันว์ธิดา วงศ์ประสงค์, อุดม วงษ์สิงห์, ผลิพร ธัญญอนันต์ผล และสมชนก ลดาดก (บ.ก.). (2561). สูตรห้องเรียนสุข สนุกสอน. กรุงเทพฯ: มาตาการพิมพ์.

มารุต พัฒผล. (2557). การจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างการรู้คิด และความสุขในการเรียนรู้ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.

ลัดดา หวังภาษิต. (2557). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ภาษาอังกฤษที่เสริมสร้างความสุขในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาโรงเรียนสาธิตสังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

พิสณุ ฟองศรี. (2557). การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วัลลภา วาสนาสมปอง. (2563). ผลของรูปแบบการเรียนรู้แบบนำความสุขสู่นักเรียนที่มีต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัยตามแนวคิดของบลูม ในรายวิชากายภาพ วิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาแห่งชาติ. (2564). รายงานการศึกษาไทย พ.ศ. 2562-2564 (Education in Thailand. 2019-2021). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สุดหทัย รุจิรัตน์. (2558). รูปแบบการเสริมพลังเพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูที่ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียนระดับประถมศึกษา (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

อธิวัฒน์ เจี่ยวิวรรธน์กุล. (2557). สรรสาระองค์กรแห่งความสุข เล่ม 2: เรื่องดีๆ ของความสุขในองค์กร. กรุงเทพฯ: พีเอ ลิฟวิ่ง.

Gagne, M., Briggs, J. & Wager, W. (1992). Principle of instructional design (4th ed.). San Diego: Harcourt Brace.

Scharmer, C. O. (2007). Theory U: Leading form the future as it emerges. Cambridge: Massachusetts.