การศึกษาผลการเรียนรู้และความคิดสร้างสรรค์ หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง อากาศรอบตัว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จากการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีมศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ อากาศรอบตัว จากการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีมศึกษา จากการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังเรียน และผลสัมฤทธิ์หลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 2) เปรียบเทียบคุณภาพชิ้นงานหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 3) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ก่อนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/6 จำนวน 30 คน ภาคเรียนที่ 2/2564 โรงเรียนหนองบัวแดงวิทยา เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีมศึกษา หน่วยการเรียนรู้ อากาศรอบตัว จำนวน 3 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินคุณภาพชิ้นงาน และแบบวัดความคิดสร้างสรรค์ การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) คุณภาพชิ้นงานหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความคิดสร้างสรรค์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กณิตา ธนเจริญชณภาส. (2558). การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก: ผลกระทบและการตอบสนองของสรีรวิทยาระบบนิเวศ (พิมพ์ครั้งที่ 2). พิษณุโลก: พิษณุโลกดอทคอม.
กิติพงษ์ ลือนาม. (2561). วิธีวิทยาการวิจัยทางการศึกษา. นครราชสีมา: โคราช มาร์เก็ตติ้ง แอนด์ โปรดักชั่น.
ปฐมาภรณ์ จิรพนธ์โชติการ และศรีสมร พุ่มสะอาด. (2561). การพัฒนาความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. ใน การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 13 ปีการศึกษา 2561 (น. 1807-1815). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.
ปิณิดา สุวรรณพรม. (2563). การเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การถ่ายโอนพลังงานความร้อน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน และแบบโครงงานเป็นฐานตามแนวทางสะเต็มศึกษา. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 14(3), น. 52-62.
ฟัตมาอัสไวนี ตาเย๊ะ, ณัฐินี โมพันธุ์ และมัฮดี แวดราแม. (2560). ผลของการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีมศึกษาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ความคิดสร้างสรรค์ และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(2), น. 1-14.
มัสยา บัวผัน, สิราวรรณ จรัสรวีวัฒน์ และอาพันธ์ชนิต จนจิต. (2563). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีม ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนความคิดสร้างสรรค์และเจตคติ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 48(2), น. 203-224.
มีนกาญจน์ แจ่มพงษ์ และนพดล พรามณี. (2560). การพัฒนาชุดฝึกทักษะแบบสตีมศึกษา โดยการสร้างชิ้นงาน เรื่อง พลังงานรอบตัวเรา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 7(3), น. 81-92.
รักษพล ธนานุวงศ์. (2556). เรียนรู้สภาวะโลกร้อนด้วย STEM Education แบบบูรณาการ. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วรรณพงษ์ เตรียมโพธิ์ และอาทร นกแก้ว. (2559). บทความเกี่ยวกับ STEM. กรุงเทพฯ: สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล.
วาสนา กีรติจำเริญ และอิสรา พลนงค์. (2564). การพัฒนารูปแบบการสอนตามแนวสะตีมศึกษาสำหรับการเสริมสร้างทักษะความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก. วารสารราชพฤกษ์, 19(3), น. 119-129.
ศิวณัฐ ภูมิโคกรักษ์ และเจษฎา กิตติสุนทร. (2562). ผลการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และความคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา. วารสารราชพฤกษ์, 17(2), น. 73-79.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2557). สะเต็มศึกษา (STEM Education). กรุงเทพฯ: องค์การค้าของ สกสค.
อารี พันธ์มณี. (2557). ฝึกให้คิดเป็น คิดให้สร้างสรรค์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Guiford, J. P. (1967). The nation of human intelligence. New York: McGraw-hill.
Herboldsheimer, R. & Gordon, P. (2013). Curriculum Development Course at a Glance Planning for STEM. Sample Curriculum–Posted.
Riley, S. (2014). No Permission Required: A Guide of being STEAM to life K-12 Schools. Westminster: The Vision Board.
Yakman, G. (2008). STEAM Education: an overview of creating a model of integrative education. Pupils Attitudes Towards Technology. Retrieved May 5, 2022, from http://www.iteaconnect.org/Conference/PATT/PATT1/9 Yakmanfinal19.html