การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับการส่งเสริมทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3

Main Article Content

นาราภัทร แซ่หว้า
ณิรดา เวชญาลักษณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาการส่งเสริมทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครู 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับการส่งเสริมทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 กลุ่มตัวอย่าง คือ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 จำนวน 113 แห่ง จากการใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน นำมาเทียบสัดส่วนกำหนดผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 113 คน และครูผู้สอน จำนวน 113 คน รวม 226 คน โดยวิธีการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นตอนที่ 1 เท่ากับ 0.98 และตอนที่ 2 เท่ากับ 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน


ผลการวิจัย พบว่า 1) ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด 2) การส่งเสริมทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด และ  3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับการส่งเสริมทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครู โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กันทางบวก อยู่ในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

จิณณวัตร ปะโคทัง. (2561). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ. อุบลราชธานี: โรงพิมพ์ศิริธรรมออฟเซ็ท.

จิติมา วรรณศรี. (2563). นวัตกรรม สู่การพัฒนาสถานศึกษา. พิษณุโลก: โรงพิมพ์รัตนสุวรรณการพิมพ์ 3.

จิรพล สังข์โพธิ์. (2560). ภาวะผู้นำในการบริหารยุคดิจิทัล: องค์การไอทีและองค์การที่เกี่ยวข้องกับไอทีในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชาญณรงค์ วิเศษสัตย์. (2562). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ส่งเสริมทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของนักศึกษาวิชาชีพครู (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

ฐานะ บุญรอด และวสันต์ชัย กากแก้ว. (2564). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์. Journal of MCU Ubon, 7(3), น. 1137-1150.

ณัฐพร แถมยิ้ม. (2564). การศึกษาโมเดลเชิงสาเหตุทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของอาจารย์โรงเรียนสาธิตสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมจังหวัดกรุงเทพมหานคร: การประยุกต์ใช้โมเดลมิมิคแบบกลุ่มพหุ (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

ณิรดา เวชญาลักษณ์. (2564). ภาวะผู้นำ แนวคิด ทฤษฎี เพื่อการประยุกต์ใช้ทางการศึกษา. เชียงใหม่: วนิดาการพิมพ์.

ทินกร บัวชู และทิพภาพร บัวชู. (2562). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา. วารสารครุศาสตร์สาร คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 13(2), น. 289-290.

นัฐกฤตา เกียรติกาญจน์, ธีรศักดิ์ อุปไมยอธิชัย และณัฐกานต์ ประจัญบาน. (2564). องค์ประกอบของทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(3), น. 59-70.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุรียาสาส์น.

ปิยะพันธุ์ ขันไร่, พิมผกา ธรรมสิทธิ์ และเชาวฤทธิ์ จั่นจีน. (2564). องค์ประกอบทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครูในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 1. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(8), น. 42-55.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2557). คิดนอกกรอบ: สอนและสร้างได้อย่างไร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

มารุต พัฒผล. (2562). แนวคิดหลักการพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพฯ: ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมและการเรียนรู้.

วรวรรณ อินทร์ชู และจิติมา วรรณศรี. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(6), น. 300-311.

วสันต์ชัย สดคมขำ. (2563). ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบูรณาการเทคโนโลยีและเจตคติต่อการใช้เทคโนโลยีของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

สราวุธ นาแรมงาม. (2561). ผู้นำกับการขับเคลื่อนนโยบายประเทศไทย 4.0. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.

สิริลักษณ์ พราหมณ์โชติ, ประสงค์ ตันพิชัย และสันติ ศรีสวนแตง. (2564). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5 จังหวัดอ่างทอง. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 39(2), น. 65-90.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เสกสิทธิ์ สนสมบัติ. (2565). ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อบทบาทครูยุคดิจิทัลในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม).

อรชร ปราจันทร์, (2560). รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร).

อรชร ปราจันทร์ และสุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครู. วารสารการบริหารและนวัตกรรมการศึกษา, 1(2), น. 53-70.

Amelink, C., Fowlin, J., & Scales, G. (2013). Defining and Measuring Innovative Thinking Among Engineering Undergraduates. American Society for Engineering Education. 120th ASEE Annual Conference and Exposition. pp. 1-5.

Center for the Advanced Study of Technology Leadership in Education. (2009). Principals Technology Leadership Assessment. Retrieved February 20, 2023, from https://dangerouslyirrelevant.org/wp-content/uploads/2017/04/PTLA-Packet.pdf

Hoidn, S., & Karkkaunen, K. (2014). Promoting skill for innovation in higher education: A literature review on the effectiveness of problem-based learning and of teaching behaviors. N.P.: OECD Education Working Paper.

Horth, Davic and Buchner, Dan. (2009). Innovation Leadership; How to use innovation to lead effectively, work collaboratively and drive results. Retrieved February 20, 2023, from http://www.ccl.org/leadership/pdf/research/InnovationLeadership.pdf.

Larson, L., Miller, T. & Ribble, M. (20010). 5 Considerations for Digital Age Leaders: What Principals and District Administrators Need to Know about Tech Integration Today. Learning & Leading with Technology, 37(4), pp. 12-15.

Sheninger, E. (2014). Digital Leadership : Changing paradigms for changing times. California: United States of America.

Stewart, M. (2015). The Language of Praise and Criticism in a Student Evaluation Survey. Studies in Educational Evaluation, 45, pp. 1-9.

Swallow, E. (2012). Can innovative thinking be learned. Forbes, 6(3), pp. 1-2.