ผลการจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ทางคณิตศาสตร์ และความตระหนักรู้เกี่ยวกับเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบกิจกรรมคณิตศาสตร์ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน 2) ศึกษาผลการใช้กิจกรรมคณิตศาสตร์ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน สำหรับนักเรียนที่มีต่อความฉลาดรู้ทางคณิตศาสตร์ และ 3) ศึกษาผลการใช้กิจกรรมคณิตศาสตร์ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลายที่มีต่อความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรม จำนวน 5 แผน แบบวัดความฉลาดรู้ทางคณิตศาสตร์ และ แบบวัด ความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนบ้านหัวถนน อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 39 คน โดยจัดกิจกรรมตามแผนการจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์ในคาบลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า 1) กิจกรรมคณิตศาสตร์ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย มีผลการประเมินคุณภาพอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด 2) ผลการประเมินความฉลาดรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลายมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 14.73 คิดเป็นร้อยละ 61.38 และ 3) ผลการประเมินความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน พบว่า นักเรียนมีความตระหนักรู้ในระดับปานกลาง
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กาญจนา เงารังษี. (2559). การศึกษากับการพัฒนาที่ยั่งยืน. วารสารสมาคมนักวิจัย, 21(2), น. 13-18.
ณรงค์เดช มหาศิริกุล และพีร์นิธิ อักษร. (2563). การตระหนักรู้เกี่ยวกับป้ายจราจรชั่วคราวกับการใช้งานเซลลูลาร์ดาตาบนสมาร์ทโฟน: แนวคิดสำหรับการจัดการความปลอดภัยในรูปแบบดิจิทัล. Local Administration Journal, 14(1), น. 37-52.
ประไพ ศิวะลีราวิลาศ. (2549). การพัฒนารูปแบบการศึกษาโดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อพัฒนาต้นทุนทางสังคม (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
วิไลภรณ์ ฤทธิคุปต์. (2561). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน: กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพของครูในศตวรรษที่ 21. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 11(3), น. 179-191.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2563). PISA 2021 กับการประเมินความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2565, จาก https://pisathailand.ipst.ac.th/ infographics-issue-2020-53/
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2565). PISA THAILAND. สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2565, จากhttps://pisa thailand.ipst. ac.th/about-pisa/
สมนึก ภัททิยธนี. (2560). การวัดผลการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 11). กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.
อรนุช ลิมตศิริ. (2542). หลักสูตรและการเรียนการสอนในระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Bedri Z., de Fréin, R., & Dowling, G. (2017). Community-based learning: A primer (Research report). Dublin: Technological University Dublin.
ErlİNa, N., Suardana, I. N., WİCaksono, I., PandİAngan, P., & BudİAstra, A. A. K. (2022). Education for sustainable development-based lesson plan validity test for mastery of pre-service science teacher learning outcomes. Journal for the Education of Gifted Young Scientists, 10(1), pp. 85-97.
Gafoor, K. A. (2012). Considerations in the measurement of awareness. National Seminar on Emerging trengs in education. Kerala, India: University of Calicut.
Garoutte, L. (2017). The Sociological imagination and community-based learning: using an asset-based approach. Teaching Sociology, 46(2), pp. 148-159.
Günther, J., Overbeck, A. K., Muster, S., Tempel, B. J., Schaal, S., Schaal, S., Otto, S. (2022). Outcome indicator development: Defining education for sustainable development outcomes for the individual level and connecting them to the SDGs. Global Environmental Change, 74(3), p. 102526.
Ibrahim, M. (2010). The use of community based learning in educating college students in Midwestern USA. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 2(2), pp. 392-396.
Ongon, S., Wongchantra, P., & Bunnaen, W. (2021). The effect of integrated instructional activities of environmental education by using community-based learning and active learning. Journal of Curriculum and Teaching, 10(2), pp. 42-57.
Poole, A. H. (2022). Putting community-based learning and librarianship into practice. In Malte Smits (Ed.). Information for a Better World: Shaping the Global Future (pp. 69-78). Springer: Switzerland.
Rhee, E. (2018). Teaching community-based learning course in retailing management. Journal of Marketing Education, 40(1), pp. 47-55.
United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization (UNESCO). (2017). Education for Sustainable Development Goals Learning Objectives. Retrieved June 16, 2022, from https://unesdoc.unesco.org/ark:/48223/pf0000247444
Vukić, T. (2020). Sustainable development from high school teachers’ perspective. Facta Universitatis, Series: Philosophy, Sociology, Psychology and History, 8(3), pp. 131-148.