การจัดการศึกษาฝ่าวิกฤติด้วยฐานคิดเศรษฐกิจพอเพียง เทศบาลตำบลทอนหงส์ อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช
Main Article Content
Abstract
การจัดการศึกษาฝ่าวิกฤติด้วยฐานคิดเศรษฐกิจพอเพียงเทศบาลตำบลทอนหงส์ มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษากระบวนการเรียนรู้การจัดการแก้ปัญหาการจัดการศึกษา 2) ศึกษากระบวนการพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาด้วยฐานคิดเศรษฐกิจพอเพียง กรณีเทศบาลตำบลทอนหงส์ อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการวิเคราะห์ สังเคราะห์ ถอดบทเรียนการพัฒนาในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น โดยใช้กระบวนการภูมิปัญญา การเรียนรู้และพัฒนาของผู้บริหาร ผลการวิจัยพบว่า
เทศบาลต้องดำเนินการ ให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาการเรียนรู้อย่างเหมาะสมกับวัย การจัดการศึกษาในช่วงเริ่มต้นของเทศบาลจะมีอุปสรรคมากมาย การแก้ปัญหาจึงใช้ทรัพยากรและบุคลากรในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมเป็นพลังขับเคลื่อนที่สำคัญในการฝ่าวิกฤติปัญหาต่างๆ ของชุมชน โดยจัดการศึกษา ฝ่าวิกฤติเป็นไปตามรูปแบบ รวมพลังชุมชน อดทนสู่ความสำเร็จ (LPCA Model) L ผู้นำ (Leader) คือบุคคลที่เป็นที่รวมของความเชื่อมั่นศรัทธา P พลังชุมชน (Power of Community) คือกลุ่มคนที่พร้อมจะเข้าร่วมกิจกรรมอย่างเหนียวแน่น C ต่อเนื่อง (Continued) มีกิจกรรม โครงการเชิงระบบครบวงจร อยู่เสมอจนเกิดผลสำเร็จที่ชัดเจน A ความสำเร็จร่วมกัน (Attainment) ความสำเร็จที่เกิดขึ้น ต้องประกาศเป็นผลงานชุมชนที่เข้ามามีส่วนร่วม ทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการ
Education Management Crisis Base Concept of Sufficiency Economy Thonhong Sub-District Municipality, Promkiri District, Nakhon Si Thammarat Province
Education Management crisis base concept of sufficiency economy Thonhong sub-district municipality has the purpose to study 1) the learning process management solution providing education, 2) the process developing forms of education that sufficient economic base at Thonhong sub-district municipality, Promkiri district, Nakhon Si Thammarat province. The qualitative research was used to analysis, synthetic, and creates lessons to learn about developing for problem solving. Then, the wisdoms process, learning and development executives were explained. The result shows that; The councils must complete the children to have the opportunity to develop age-appropriate learning. Education management of the municipalities should have many hurdles. So, the solution is to use resources and people in the community to participate as a major driving force in the crisis of the community. Then, the education through the crisis was managed. According to the model “LPCA model”. “L” (Leader), “P” (Power of Community), “C” (Continued) and “A” (Attainment) involved that both official and unofficial.