ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ในจังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

จิรัชยา เคล้าดี
สุภชัย นาคสุวรรณ์
จักรวาล สุขไมตรี

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดนครศรีธรรมราชและ 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ผู้สูงอายุในจังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ (Percentage), ค่าเฉลี่ย (Mean), ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และใช้การทดสอบค่า t-test และความแปรปรวนทางเดียว One-way ANOVA

ผลการวิจัยพบว่า

1) ระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.86 ซึ่งเมื่อพิจารณารายปัจจัย พบว่า ทุกปัจจัยส่งผลต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุ อยู่ในระดับมาก โดยปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับ 1 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.26 รองลงมา คือ ปัจจัยด้านความสัมพันธ์ทางสังคม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.87 ปัจจัยด้านร่างกาย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.78 ด้านปัญญา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.74 และปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุน้อยที่สุด คือ ปัจจัยด้านจิตใจ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.62 ตามลำดับ

2) การเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อระดับการมีคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ พบว่า ลักษณะส่วนบุคคลของผู้สูงอายุทุกด้าน ได้แก่ 1) อายุ 2) เพศ 3) สถานภาพ 4) ความมีโรค/อาการป่วย 5) ความสามารถในการอ่านหนังสือ 6) ความสามารถในการเขียนหนังสือ 7) ระดับการศึกษา 8) การเป็นสมาชิกกลุ่มของชุมชน 9) แหล่งที่มาของรายได้ 10) รายได้ 11) ภาระหนี้สิน 12) เงินออม 13) การได้รับเบี้ยยังชีพ และ 14) บุคคลที่ผู้สูงอายุพักอาศัยอยู่ด้วย ไม่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05

 

Factors Affecting the Life Quality of the Elderly in Nakhon Si Thammarat Province

The purposes of the research were to study 1) the level of the life quality of the elderly people and 2) factors affecting to the life quality of the elderly. The samples were 400 elderly people living in Nakhon Si Thammarat Province. A questionnaire was used as a research tool to collect data. The data were analyzed by using frequency, mean, standard deviation, t-test and one-way ANOVA.

The result of this research found that:

1) The life quality of the elderly people was at a high level with an average 3.86 (\inline \dpi{80} \bar{X} = 3.86). While favorable environment and self-determination was in the highest level with an average 4.26 (\inline \dpi{80} \bar{X} = 4.26). Social relationships were 3.87 (\inline \dpi{80} \bar{X} = 3.87). The physical factors were 3.78 (\inline \dpi{80} \bar{X} = 3.78). The wisdom factor was 3.74 (\inline \dpi{80} \bar{X} = 3.74). The mind factor also revealed an average 3.62 (\inline \dpi{80} \bar{X} = 3.62).

2) The comparison factors affecting the life quality of the elderly people found that personal characteristics were 1) aged, 2) sex, 3) status, 4) illness, sickness, and disease, 5) people’s literacy, 6) ability to write, 7) educational level, 8) belongings, 9) sources of income, 10) liabilities, 11) obligation, 12) savings, 13) allowance and 14) person who live with the elderly people who did not affect to the quality of elderly life.

Article Details

Section
Articles