พฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา

Main Article Content

สิริไพศาล ยิ้มประเสริฐ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา จำแนกตามเพศ คณะ ค่าใช้จ่ายต่อเดือน ที่พักอาศัย และค่าดัชนีมวลกาย เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา จำนวน 321 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคอาหาร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ one-way ANOVA

ผลการวิจัย พบว่า

1. พฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา ในภาพรวม อยู่ในระดับพอใช้ (\inline \dpi{80} \bar{X} = 1.65, S.D. = 0.23) หากพิจารณาพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่อยู่ในระดับดี คือ การดูวันหมดอายุก่อนซื้ออาหารสำเร็จรูป (\inline \dpi{80} \bar{X} = 2.34, S.D. = 0.78) รองลงมาคือ การดื่มนํ้าสะอาดอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว (\inline \dpi{80} \bar{X} = 2.25, S.D. = 0.76) และการเลือกซื้อ หรือรับประทานอาหารโดยพิจารณาความสะอาดของร้านและผู้ขายมากกว่าความอร่อย (\inline \dpi{80} \bar{X} = 2.21, S.D. = 0.71) ส่วนพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่อยู่ในระดับพอใช้ คือ การไม่ได้รับประทานอาหารเช้าเนื่องจากต้องรีบเข้าเรียนให้ทัน (\inline \dpi{80} \bar{X} = 1.05, S.D. = 0.92) รองลงมาคือ การรับประทานอาหารประเภททอด (\inline \dpi{80} \bar{X} = 1.09, S.D. = 0.65) และการรับประทานอาหารรสจัด (\inline \dpi{80} \bar{X} = 1.11, S.D. = 0.83)

2. นักศึกษาที่มีสถานภาพทางเพศ คณะ ค่าใช้จ่ายต่อเดือน ที่พักอาศัย และค่าดัชนีมวลกายต่างกัน มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารไม่แตกต่างกัน

 

Food Consumption Behavior of Undergraduate Student Level 1 in Rajamangala University of Technology Isan Nakhon Ratchasima

The objectives of this research was to study and compare food consumption behavior of 1st year students in Rajamangala University of Technology Isan, Nakhon Ratchasima based on their sex, faculty, cost of living per month, habitat and body mass index. It was a survey research that its samples were 321 students. The questionnaire of food consumption behavior was used as a research data. Data were analyzed by using percentage, mean, standard deviation, t-test and one-way ANOVA

The results of research found that:

1. The overview of consumption behavior of 1st year students was at a fair level (\inline \dpi{80} \bar{X} = 1.65, S.D. = 0.23). The consumption behavior of a good level was looking at expiry date before buying instant food (\inline \dpi{80} \bar{X} = 2.34, S.D. = 0.78), water drinking at least 6-8 glasses per day (\inline \dpi{80} \bar{X} = 2.25, S.D. = 0.76) and choosing the cleanliness of the restaurants and sellers rather than delicious food (\inline \dpi{80} \bar{X} = 2.21, S.D. = 0.71). The consumption behavior of a fair level was skipping breakfast because of hurrying to attend morning class (\inline \dpi{80} \bar{X} = 1.05, S.D. = 0.92), eating fried food (\inline \dpi{80} \bar{X} = 1.09, S.D. = 0.65) and eating spicy food (\inline \dpi{80} \bar{X} = 1.11, S.D. = 0.83).

2. Students with different sex, faculty, cost of living per month, habitat, and BMI did not changed consumption behavior.

Article Details

Section
Articles