การประเมินหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย ปรับปรุง พ.ศ.2555 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

Main Article Content

ธัชวัสส์ ตั้งตรงขันติ
ภาคภูมิ พิลึก
วิภาวัลย์ เชาวน์สุจริต
เกษศิรินทร์ กิตติพงษ์ภากรณ์
สิริกาญจน์ สันติเสวี
วรวิทย์ รัตนเสถียรกิจ
สมยศ บ่อน้อย
ปรีติวัฒน์ วรรณบุษปวิช

Abstract

วัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจัยครั้งนี้ เพื่อประเมินหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย ปรับปรุง พ.ศ. 2555 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1-4 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย ปีการศึกษา 2558 จำนวน 274 คน ผู้ประกอบการในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ จำนวน 40 คน อาจารย์ผู้สอนหมวดวิชาศึกษาทั่วไป จำนวน 8 คน และอาจารย์ผู้สอน จำนวน 8 คน เก็บข้อมูลเดือนกุมภาพันธ์–พฤษภาคม 2559 เครื่องมือในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) วิเคราะห์ผลด้วยการหาค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเปรียบเทียบ กับเกณฑ์ในการประเมินค่า 5 ระดับ ผลการวิจัย พบว่า ค่าเฉลี่ยของความคิดเห็นต่อหลักสูตรมีความเหมาะสมและสอดคล้อง อยู่ในระดับมาก คือ อาจารย์ผู้สอน มีค่าเฉลี่ยด้านกระบวนการ (\inline \dpi{80} \bar{X} = 4.34) ด้านผลผลิต (\inline \dpi{80} \bar{X} = 4.26) ด้านบริบท (\inline \dpi{80} \bar{X} = 4.11) ด้านปัจจัยนำเข้า (\inline \dpi{80} \bar{X} = 4.06) ตามลำดับ นักศึกษาชั้นปี 1-4 มีค่าเฉลี่ยด้านกระบวนการ (\inline \dpi{80} \bar{X} = 4.42) ด้านผลผลิต (\inline \dpi{80} \bar{X} = 4.35) ด้านปัจจัยนำเข้า (\inline \dpi{80} \bar{X} = 4.29) ด้านบริบท (\inline \dpi{80} \bar{X} = 4.23) ตามลำดับ ผู้ประกอบการในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ มีค่าเฉลี่ย ด้านผลผลิต (\inline \dpi{80} \bar{X} = 4.05) ด้านคุณธรรม จริยธรรม (\inline \dpi{80} \bar{X} = 4.40) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ (\inline \dpi{80} \bar{X} = 4.25) ด้านความรู้ (\inline \dpi{80} \bar{X} = 3.95) ด้านทักษะทางปัญญา (\inline \dpi{80} \bar{X} = 3.94) ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (\inline \dpi{80} \bar{X} = 3.73) ตามลำดับ อาจารย์ผู้สอนหมวดวิชาศึกษาทั่วไป มีความคิดเห็น คือ กลุ่มวิชา ในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป จำนวนหน่วยกิต จำนวนรายวิชา เนื้อหารายวิชามีความเหมาะสมและมีความหลากหลายต่อการ พัฒนานักศึกษา ผลงานวิจัยครั้งนี้ สามารถใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงการจัดการศึกษา เช่น การปรับปรุงรายวิชาใน หลักสูตรให้มีความเหมาะสม

 

Evaluation of Bachelor’s Degree Curriculum on Sports and Exercise (Revised) B.E. 2012, Faculty of Science and Technology, Nakhon Ratchasima Rajabhat University

This study proposed to evaluate a bachelor’s degree curriculum on sports and exercise (revised) B.E. 2012, Faculty of Science and Technology, Nakhon Ratchasima Rajabhat University. This program was specifically designed for 4 target groups which are 1) undergraduate students, 2) entrepreneurs in professional experiences, 3) general education lecturers, 4) sports and exercise science lecturers. Data in February-May 2016 was collected by questionnaire and interview questions and evaluated based on CIPP Model. Furthermore, the difference of means and standard deviation were compared to 5 levels of evaluation criteria. Quantitative opinion polling mostly accepted bachelor’s degree on sports and exercise (revised) B.E. 2555 in which sports and exercise science lecturers showed the average in process (\inline \dpi{80} \bar{X} = 4.34); average in product (\inline \dpi{80} \bar{X} = 4.26); average in context (\inline \dpi{80} \bar{X} = 4.11) and average in input (\inline \dpi{80} \bar{X} = 4.06) respectively. Moreover, undergraduate students showed the average in process (\inline \dpi{80} \bar{X} = 4.42); average in product (\inline \dpi{80} \bar{X} = 4.35); average in input (\inline \dpi{80} \bar{X} = 4.29); average in context (\inline \dpi{80} \bar{X} = 4.23) respectively. Besides above, entrepreneurs in professional experiences showed the average in product (\inline \dpi{80} \bar{X} = 4.05); average in ethics (\inline \dpi{80} \bar{X} = 4.40); average in relationship skill and responsibility (\inline \dpi{80} \bar{X} = 4.25) knowledge (\inline \dpi{80} \bar{X} = 3.95); average in intelligent (\inline \dpi{80} \bar{X} = 3.94) and average in numerical skill, communication and information technology usage (\inline \dpi{80} \bar{X} = 3.73) respectively. In addition, the instructors suggested that the general education course showed the credit appropriation, content and variety. The outcome of this research significantly informed that the curriculum management and its courses have improved.

Article Details

Section
Articles