ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานที่มีต่อความสามารถด้านการอ่านจับใจความและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

เจริญศรี เชตุวัน
อภิณห์พร สถิตย์ภาคีกุล
กตัญญุตา บางโท

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านจับใจความหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานกับเกณฑ์ คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานกับเกณฑ์คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 80 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดทุ่งเฟื้อ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 จำนวน 15 คน ได้จากการสุ่มอย่างง่ายโดยใช้โรงเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ คือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน จำนวน 6 แผน, แบบวัดความสามารถด้านการอ่านจับใจความ และแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ทดสอบสมมุติฐาน ได้แก่ การทดสอบค่าที แบบ One-sample t-test for the mean (n<30)

ผลการวิจัยพบว่า หลังจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่1 มีความสามารถด้านการอ่านจับใจความสูงกว่าเกณฑ์คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าเกณฑ์คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

The Effects of Brain-Based Learning Approach on Reading Comprehension Ability and Learning Achievement in Thai Language Learning Area of Pratomsuksa 1 Students.

The aims of this research were to compare 1) reading comprehension ability after learning through brain-based learning (BBL) approach to the criterion of 80 % average score, and 2) learning achievement after learning through BBL approach to the criterion of 80% average score. The samples were 15 prathomsuksa 1 students in Watthungfua school, Nakhon Si Thammarat Educational Service Area Office 1, as a simple random, and school was used as the random unit. The research instruments were 6 lesson plans using BBL activities, reading comprehension ability test, and learning achievement test. Descriptive statistic, and One-sample t-test for the mean (n<30) were applied to analyzed the collected data.

The research results revealed that after learning through BBL approach, prathomsuksa 1 students’ reading comprehension ability was statistical significance higher than the criterion of 80% average score at .05 level, and the students’ learning achievement was statistical significance higher than the criterion of 80% average score at .05 level.

Article Details

Section
Articles