การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ การบวก ลบ คูณ หารเศษส่วน และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา

Main Article Content

วราภรณ์ อาทิจวงศ์
สิรินาถ จงกลกลาง

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ ศึกษาและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้การบวก ลบ คูณ หาร เศษส่วน ระหว่างก่อนและหลังเรียน และหลังเรียนเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ระหว่างก่อนและหลังเรียน และหลังเรียนเทียบกับเกณฑ์ ร้อยละ 70 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนสาคริชวิทยา อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ สำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยการ จัดการเรียนรู้แบบซิปปา จำนวน 14 แผน และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมี 2 ฉบับ ได้แก่ แบบทดสอบวัดผล สัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (\inline \dpi{80} \bar{X}) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ร้อยละ (%) และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการศึกษาพบว่านักเรียนที่ได้รับการจัด การเรียนรู้แบบซิปปา มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก้าวหน้าขึ้น 10.73 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 35.75 โดยผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีคะแนน ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ก้าวหน้าขึ้น 7.43 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 24.75 โดยความสามารถในการคิดวิเคราะห์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

A Study of Mathematics Learning Achievement on Miscellaneous of Addition, Subtraction, Multiplication, Division, Fractions Unit and Analytical thinking Competency of Prathomsuksa 5 Students by Using CIPPA Model

The purposes of research were to study and compare before and after learning of 1) Mathematics achievement on miscellaneous of Addition, Subtraction, Multiplication and Division Fractions unit comparing with 70 percentage and 2) Analytical thinking with 70 percentage of Prathomsuksa 5 students by CIPPA Model. The sample were 40 students studying from Prathomsuksa 5/1 in the first semester of 2015 academic year of Sakritwittaya School, Muang district, Chaiyaphum Primary Educational Service Area (CPESA). The research instrument was 14 lesson plans of learning management using CIPPA Model. The statistical analysis of the data based on the mean (\inline \dpi{80} \bar{X}), standard deviation (S.D.), percentage and t-test. The result of this study revealed that CIPPA Model had more analytical thinking and learning achievement scores more than 10.73 score or 35.75 percent. The score of analytical thinking competency after learnt by CIPPA Model had statistical significant higher than before 7.43 score or 24.75 percentage, had statistical significant higher than 70 % criteria at the level of .05.

Article Details

Section
Articles