การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ทักษะการสื่อสารภาษาจีน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) พัฒนาหน่วยการเรียนรู้ทักษะการสื่อสารภาษาจีนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา 2) ศึกษาผลการใช้หน่วยการเรียนรู้ในประเด็น 2.1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน 2.2) หลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 2.3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหน่วยการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบวัดความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย () ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบที (t-test)
ผลการศึกษา พบว่า
1. หน่วยการเรียนรู้ ทักษะการสื่อสารภาษาจีน เป็นหน่วยการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นใหม่ ในรายวิชา จ15201 ภาษาจีนตามหลักสูตรโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา พุทธศักราช 2558 ซึ่งหน่วยการเรียนรู้มีองค์ประกอบดังนี้ 1) ชื่อหน่วยการเรียนรู้ และเวลาเรียน/ชั่วโมง 2) เป้าหมายการเรียนรู้ประกอบด้วย ผลการเรียนรู้ สาระสำคัญ สาระการเรียนรู้สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 3) ชิ้นงาน/ภาระงาน การวัดและประเมินผล และ 4) กิจกรรมการเรียนรู้ทักษะการสื่อสารภาษาจีน โดยมีค่าดัชนี ความสอดคล้อง 1.00 ทุกข้อ ส่วนความเหมาะสมและความสอดคล้องของกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.47, S.D.= 0.46)
2. ผลการใช้หน่วยการเรียนรู้ ทักษะการสื่อสารภาษาจีน พบว่า โดยภาพรวมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนหน่วยการเรียนรู้สูงกว่าก่อนเรียน และหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนรายด้าน พบว่า ทักษะการฟัง การพูด และการอ่าน หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนทักษะ ด้านการเขียน หลังเรียนไม่สูงกว่าก่อนเรียนและความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหน่วยการเรียนรู้ อยู่ในระดับพึงพอใจมาก
The Development of Learning Unit on Chinese Communication Skills for Prathomsuksa 5 Students of the Demonstration School of Nakhon Ratchasima Rajabhat University
This study aimed to 1) develop learning unit on Chinese communication skills for Prathomsuksa 5 students at the Demonstration School of Nakhon Ratchasima Rajabhat University, 2) implement the developed learning unit of students’ Chinese communication skills which were 2.1) compare learning achievement before and after instruction, 2.2) after instruction with the standard 70 percent criterion and 2.3) study satisfaction for learning unit. The sample was 30 students of Prathomsuksa 5/1 in the second semester of the 2015 academic year. The research instruments consisted of learning unit; learning achievement measurement test and satisfaction inventory. The data was analyzed by percentage mean (), standard deviation, (S.D.) and t-test.
The conclusions of the study were as follows;
1. Development of Learning Unit, it was a new learning unit on Chinese which followed the school curriculum B.E. 2015. The developed learning unit consisted of 1) unit name and class time, and 2) learning goal consisted of learning outcomes, concept description, learning content, competencies of learners and desired characteristics. 3) Tasks, measurement and evaluation, and 4) learning activities. The study revealed that the elements of the learning unitwere compatible with the valuable accordance index at 1.00 for all items. The appropriateness and consistency of learning activities were at the high level. ( = 4.47, S.D.= 0.46).
2. After implementing the learning unit, learning achievement of the learning unit on the Chinese communication skills after learning was higher than before. Learning achievement after learning was higher than the criterion of the 70 % with statistical significance at .05 level. Satisfaction for learning unit was at the high level.