ผลการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียแบบสถานการณ์จำลอง เรื่อง การเขียนโปรแกรมเบื้องต้นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

สุวรรณี เกศคำขวา
รุ่งโรจน์ พงศ์กิจวิทูร

Abstract

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัย เรื่องผลของการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย แบบสถานการณ์จำลองเรื่อง การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียแบบสถานการณ์จำลอง เรื่องการเขียนโปรแกรมเบื้องต้นให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการเขียนโปรแกรมเบื้องต้นระหว่างนักเรียนกลุ่มผู้เรียนที่เรียน โดยบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียแบบสถานการณ์จำลอง กับนักเรียนกลุ่มที่เรียนโดยวิธีปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช่ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนสาหร่ายวิทยาคม จำนวน 42 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 22 คน และกลุ่มควบคุม 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียแบบสถานการณ์จำลอง แผนการจัดการเรียนรู้ และแบบทดสอบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที

ผลการศึกษาพบว่า

1. บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียแบบสถานการณ์จำลองเรื่อง การเขียนโปรแกรมเบื้องต้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.78/80.29 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น ของนักเรียนกลุ่มที่เรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียแบบสถานการณ์จำลอง (\inline \dpi{80} \bar{X}= 20.98, S.D. = 4.52) สูงกว่านักเรียนกลุ่มที่เรียนโดยวิธีปกติ (\inline \dpi{80} \bar{X} = 11.95, S.D. = 2.58) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

Results of Using Computer Multimedia Lesson Based on Simulation Format Entitled Basic Programming for Mattayomsuksa 5 Students

This study aimed to develop computer multimedia based on simulation format entitled basic programming for Mattayomsuksa 5 students, Saraiwittayakhom School, as E1/E2 = 80/80, and compare the achievement between two samples. The experimental designs in separate sample pretest-posttest control group design were applied. The sample was 42 students, which consisted of 1st group (n=22) and 2nd group (n=20).

The research instruments were teaching plan, computer multimedia based on simulation format and examination. Data was analyzed by using descriptive statistic, mean, S.D. and t-test

The results of using computer multimedia based on simulation revealed that

1) The computer multimedia based on simulation format entitled basic programming has efficiency criterion at 84.78/80.29, and

2) Students who have learnt by computer multimedia based on simulation format had achievement overall (\inline \dpi{80} \bar{X} = 20.98, S.D. = 4.52) statistically higher than students who have learnt by routine learning (\inline \dpi{80} \bar{X} = 11.95, S.D. = 2.58) at p<.05.

Article Details

Section
Articles