ความคิดสร้างสรรค์จากการเรียนรู้เทคนิคการพิมพ์ภาพด้วยแม่พิมพ์โฟม โดยใช้กิจกรรมโครงงาน ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาศิลปศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยประเภทกึ่งทดลองโดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาเทคนิควิธีการในการพิมพ์ภาพด้วยแม่พิมพ์โฟม โดยใช้กิจกรรมโครงงาน 2) เพื่อสร้างสรรค์ผลงานจากงานแม่พิมพ์โฟมและรู้ถึงความงามที่เกิดจากการพิมพ์ภาพด้วยแม่พิมพ์โฟมผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการเรียนรู้การพิมพ์ภาพด้วยแม่พิมพ์โฟมโดยใช้กิจกรรมโครงงาน กลุ่มเป้าหมายในการศึกษา คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาศิลปศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ลงทะเบียนเรียนรหัสวิชา 235 120 ทฤษฎีและหลักการทางศิลปะ จำนวน 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาทดลอง คือ หน่วยการเรียนรู้ ภาพพิมพ์จากแม่พิมพ์โฟม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลแบบประเมินผลงานภาพพิมพ์จากแม่พิมพ์โฟมและแบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 โดยคำนวณเป็นค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านเทคนิคและวิธีการ ด้านแม่พิมพ์ แม่พิมพ์โฟมใช้งบประมาณน้อย ไม่ยุ่งยาก สะดวก สามารถสร้างสรรค์ผลงานที่แปลกใหม่ได้ สามารถใช้ในการเรียนการสอนได้ทุกช่วงระดับการศึกษา 2) ด้านการพิมพ์แม่พิมพ์โฟมสามารถพิมพ์ได้หลายครั้ง สร้างลวดลายเพิ่มเติม หรือเปลี่ยนสีได้ ควรใช้กระดาษ 100 ปอนด์เรียบในการพิมพ์ โดยหมักกระดาษ 3 ชั่วโมงขึ้นไป ด้วยวิธีการฉีดนํ้าให้ทั่วทั้งสองด้าน นำ มาซ้อนวางทับกัน ห่อหุ้มด้วยพลาสติกอีกชั้นใช้สีโปสเตอร์ในการพิมพ์ภาพ และแม่พิมพ์ที่ไม่ใช้แล้วควรทิ้งที่ขยะมีพิษเพื่อจะนำไปทำลายให้ถูกวิธี 3) จากจำนวนผลงานทั้งหมด พบว่า ด้านความคิดริเริ่ม (Originality) มีจำนวน 1 ชิ้น คิดเป็นร้อยละ 6.6 ด้านความคิดยืดหยุ่น (Flexibility) มีจำนวน 6 ชิ้น คิดเป็นร้อยละ 40.0 ด้านความคิดละเอียดลออ (Elaboration) มีจำนวน 8 ชิ้น คิดเป็นร้อยละ 53.3 การพิมพ์ภาพจากแม่พิมพ์โฟมของนักศึกษามีคะแนนผ่านเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 71.3 4) ด้านความคิดเห็นของนักศึกษา พบว่าด้านอาจารย์ผู้สอนมีความเหมาะสมมากที่สุด ร้อยละ 61.1 ด้านเนื้อหาการสอนมีระดับเหมาะสมน้อยที่สุด ร้อยละ 34.2 ส่วนด้านวิธีการสอนและด้านวัดประเมินผลมีระดับเหมาะสมปานกลางร้อยละ 54.0 และ 51.5 ตามลำดับ
Creative Thinking in Printing with Form Technique Study Using Project Work: A Case Study of 1st Year Art Education Students
The purposes of the research were to 1) study techniques of printing with foam, 2) create a work of printing with foam passing the 70% criterion score, and 3)analysis the students’ opinion toward learning of printing with foam.
The population used in this study were 33 1st year Art education students who enrolled ‘Theory and Principles of Art’ course, code 235120.There were 2research tools used in this study, 1) study plan on printing with foam and 2) evaluation form on students’ performance and opinion. The findings included 1) Printing with foam technique created an originality and creativity with simple method and low budget.It can be taught at every level, 2) Foam blocks were used for multiple reprinting. They were also simple to add more patterns or to change colors. The 100-pound paper was suggested. It also needed to be soakedin water for at least 3 hours before placing down with one another and then wrapped it with plastic. Discarded printing blocks had to be disposed off with appropriate methods, 3) It was found that From evaluation of students’ originalityworks reveals 6.6% ofan originality; 6 pieces or 40% of flexibility, and 8 pieces or 53.3% ofelaboration,There were 71.3% of the students passing the criteria score and 4) Students’ opinion on instructor was 61.1%, following with 34.2% ofthe content, 54.0% of the pedagogy and 51.5% ofthe evaluation.