การเสริมสร้างศักยภาพผู้นำชุมชนเพื่อการพัฒนาพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาอย่างยั่งยืน ด้วยกระบวนการแบบมีส่วนร่วม

Main Article Content

สุวิมล ตั้งประเสริฐ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาศักยภาพผู้นำชุมชนในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา 2) จัดทำกลยุทธ์การพัฒนาศักยภาพผู้นำชุมชนสำหรับการนำไปใช้เพื่อพัฒนาพื้นที่ในจังหวัดนครราชสีมาด้วยกระบวนการแบบมีส่วนร่วม 3) เสริมสร้างศักยภาพผู้นำชุมชนที่มีคุณภาพในการพัฒนาพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาอย่างยั่งยืนด้วยกระบวนการแบบมีส่วนร่วม กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลมะเกลือใหม่ อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การศึกษาศักยภาพผู้นำชุมชน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้นำชุมชนในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 185 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการคำนวณหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) การจัดทำกลยุทธ์การพัฒนาศักยภาพผู้นำชุมชน โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบประเมินโครงร่างกลยุทธ์การพัฒนาศักยภาพผู้นำชุมชน แบบประเมินความเหมาะสม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนแบบประเมินความ สอดคล้อง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item-Objective Congruence: IOC) และ 3) การเสริมสร้างศักยภาพผู้นำชุมชนที่มีคุณภาพ กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้นำชุมชนซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 38 คน กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลมะเกลือใหม่ อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบวัดศักยภาพผู้นำชุมชนที่มีคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการทดสอบค่าที (t-test แบบ Dependent sample) และแบบประเมินความพึงพอใจของการเสริมสร้างศักยภาพผู้นำชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า 1) ศักยภาพผู้นำชุมชนในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณา รายด้าน พบว่าด้านที่มีศักยภาพสูงสุด คือ ด้านทัศนคติของผู้นำชุมชน รองลงมา คือ ด้านทักษะของผู้นำชุมชนและด้านที่มีศักยภาพตํ่าสุด คือด้านความรู้ของผู้นำชุมชน ตามลำดับ 2) ผลการประเมินกลยุทธ์การพัฒนาศักยภาพผู้นำชุมชนสำหรับการนำไปใช้เพื่อพัฒนาพื้นที่ในจังหวัดนครราชสีมาด้วยกระบวนการแบบมีส่วนร่วม โดยผู้เชี่ยวชาญ 5 คน ด้านความเหมาะสม พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด ด้านความสอดคล้อง พบว่า มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 ทุกข้อ 3) การเสริมสร้างศักยภาพผู้นำชุมชนที่มีคุณภาพในการพัฒนาพื้นที่ จังหวัดนครราชสีมาอย่างยั่งยืนด้วยกระบวนการแบบมีส่วนร่วม กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลมะเกลือใหม่ อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ผลการเปรียบเทียบก่อนและหลังการเสริมสร้างศักยภาพผู้นำชุมชนพบว่า ค่าเฉลี่ยรวมหลังการเสริมสร้างศักยภาพผู้นำชุมชนมากกว่าก่อนการเสริมสร้างศักยภาพผู้นำชุมชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และผลการศึกษาความพึงพอใจของการเสริมสร้างศักยภาพผู้นำชุมชน โดยภาพรวมและรายข้อพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด

 

An Enrichment of Community Leader Potential at Nakhon Ratchasima Area for Sustainable Development by Participatory Process

This research aimed to 1) study community leaders’ potential in Nakhon Ratchasima, 2) create strategy to develop their potential to develop the area through participatory procedure and 3) enhance their potentials in Makleamai Sub-district Administrative Organization, Soongnern, Nakhon Ratchasima for sustainable development through participatory procedure. There were three stages in research procedures; 1) Study of community leaders’ potential and the sample group was 185 community leaders at Nakhon Ratchasima using random sampling technique by drawing the sample. Research instrument was questionnaires and data analysis was conducted by means and standard deviations, 2) Creating strategy to develop their potentials by 5 experts in the field. Research instruments were evaluation forms for community leaders’ potential strategic plan and their appropriateness. Data analysis was conducted by means, standard deviations, and Index of Item-Objective Congruence (IOC), 3) Enhance their potentials, and the sample group was 38 community leaders, using purposive sampling technique. Research instrument was community leaders’ potential test, and t-test dependent sample was employed in this study. This included satisfaction questionnaire on community leaders’ potential enhancement. analysis was conducted and means and standard deviations.

The results showed that

1) Community leaders’ potential at Nakhon Ratchasima was generally at moderate level. Considering individual aspects, it was found that community leaders’ attitudes had the highest level, and followed by their skills. The lowest level was in their knowledge.

2) Evaluation results on community leaders’ potential strategic plan to develop the area through participatory procedure by 5 experts on appropriateness showed that it was at the highest level. Considering individual aspects, they were at high to highest levels at 1.00 in all aspects.

3) Enhancing their potential in Makleamai Sub-district Administrative Organization for sustainable development through participatory procedure, the results from t-test indicated a significant difference at .01 level of the post-test means on this aspect in which it was higher than that of the pre-test means. Results from community leaders’ satisfaction in both general and individual aspects were at the highest level.

Article Details

Section
Articles