การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหน่วยการเรียนรู้การบวก การลบ การคูณทศนิยม และพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จากการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD
Main Article Content
Abstract
การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ในงานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์การวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังเรียน หน่วยการเรียนรู้การบวก การลบ การคูณทศนิยม จากการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้การบวก การลบ การคูณทศนิยม หลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD กับเกณฑ์ร้อยละ 70 3) เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบพฤติกรรมการทำงานกลุ่มจากการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดบ้านนางิ้ว ปีการศึกษา 2557 จำนวน 12 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ร้อยละ (%) และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการศึกษาพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีคะแนนความก้าวหน้าเฉลี่ย 9.67 คิดเป็นร้อยละ 32.22 และคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2)ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) พฤติกรรมการทำงานกลุ่ม หลังเรียนมีความก้าวหน้าเฉลี่ย 2.75 คิดเป็นร้อยละ 22.92 และมีค่าเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
A Study of Learning Achievement on Addition, Subtraction, Multiplying Decimals Unit and Group Working Behaviors of Prathomsuksa 5 Students Using Cooperative Learning Technique of Student Team Achievement Division
The purposes of cooperative learning with Student Team Achievement Division (STAD) Technique from this research were 1) to study and compare the learning achievement using STAD 2) to compare the learning achievement after using STAD with the criterion of 70 percentage 3) to study and compare group working behaviors using STAD. The sample group consisted of 12 prathomsuksa 5 students studying in the first semester of 2014 academic year at Watbannangew School, the research instruments were 16 lesson plans. The statistical analysis of data based on the mean (), standard deviation (S.D.), percentage (%) and t-test. The results of the study indicated the following; 1) Learning achievement revealed that before learning the students had the average mark of 12.58 or 41.94% and after learning the students reached the average mark of 22.25 or 74.17%. The overall were improvement of 9.67 or 32.22% and learning achievement was higher than the one before using STAD with statistical significance at .05, 2) Learning achievement after learning was higher than the one set the criterion of 70 percent with statistical significance at .05, 3) Group working behaviors showed that before learning the students had the average mark of 6.08 or 50.69% and after learning the students had the average mark of 8.83 or 73.61%. The overall was improved 2.75 or 22.92% and group working behaviors after learning was higher than the one criterion with statistical significance at .05.