การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนกิจกรรมแนะแนว โดยใช้ทฤษฎีพหุปัญญาเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

เกศสุดา แสนนามวงษ์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนกิจกรรมแนะแนวโดยใช้ทฤษฎีพหุปัญญาเป็นฐาน และศึกษาผลการใช้รูปแบบดังกล่าวเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลหัวหิน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ 1) การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนกิจกรรม แนะแนวโดยใช้ทฤษฎีพหุปัญญาเป็นฐาน โดยการสังเคราะห์องค์ประกอบของรูปแบบการสอน การสังเคราะห์สาระสำคัญของทฤษฎีพหุปัญญาเป็นฐานและเชื่อมโยงสาระสำคัญที่สังเคราะห์ได้กับองค์ประกอบของรูปแบบการเรียนการสอนกิจกรรมแนะแนว และตรวจสอบและปรับปรุงแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น 2) การทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนกิจกรรมแนะแนวโดยใช้ทฤษฎีพหุปัญญาเป็นฐาน โดยการสร้างและหาประสิทธิภาพของเครื่องมือ การกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง และการดำเนินการใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น คือ เปรียบเทียบผลการประเมินแบบวัดและประเมินทักษะชีวิตของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนกลุ่มทดลองเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แผนการจัดการเรียนรู้แบบทดสอบความรู้ แบบวัดและประเมินทักษะชีวิต และแบบประเมินความพึงพอใจหลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น และ 3) การประเมินผลรูปแบบการเรียนการสอนกิจกรรมแนะแนว โดยใช้ทฤษฎีพหุปัญญาเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 วิเคราะห์ข้อมูลโดย หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่มของค่าเฉลี่ย โดยการหาค่าที (Dependent t-test and Independent t-test) ทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า 1. การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนกิจกรรมแนะแนว โดยใช้ทฤษฎีพหุปัญญาเป็น ฐานเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ ได้แก่ หลักการของรูปแบบการเรียนการสอน วัตถุประสงค์ของรูปแบบการเรียนการสอน กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผล วิเคราะห์ความตรงเชิงเนื้อหาด้วยการหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (Indexes of Item –Objective Congruence) ได้ค่าเท่ากับ 0.89 นับว่าเป็นรูปแบบที่มีคุณภาพและสามารถนำไปใช้ได้ 2. ผลการทดลองใช้รูปแบบแสดงว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เข้าร่วมกิจกรรมตามรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีทักษะชีวิตหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และสูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


The Development Model of Learning and Teaching in Guidance Activity Based on Theory of Multiple Intelligences Theory for Developing Matthayomsuksa 1 Student’s Life Skills

This research aimed to (1) develop model of learning and teaching in guidance activity based on theory of multiple intelligences and (2) study the model in developing Matthayomsuksa 1 students’ life skills. The sample was students in Tedsaban Ban Hua Hin School selected by purposive sampling method. The research was divided into three steps; 1) the development model was synthesizing composition of teaching model, the essence of multiple intelligences theory and associated with parts of learning and teaching in guidance activity model to check and improve the model, 2) the trial of learning and teaching in guidance activity model by constructing, efficient instrument testing and determining the population and sample by using the developing model. It was a comparison assessment of life skills between before and after learning. The experimental student group was taught by model of guidance activity. The research instruments were lesson plans, pre- and post-tests, assessment of life skills and assessment of satisfaction after using teaching model, and 3) evaluation of teaching model in guidance activity was means, standard deviation at a statistical significance level of .01.

The research showed that; 1) In the development of learning and teaching in guidance activity model, there were 4 key parts including the principle, the objectives, the processes and measurement and evaluation of learning and teaching model. This content validity was analyzed by using the index of item-objective congruence showed a value as 0.89. The model is effective and can be used in instruction, 2) the results of trial learning and teaching in guidance activity model showed that; 2.1) in the experimental student group, post-test score was higher than pre-test score at a statistical significance level at .01 and 2.2) in the post-test, experimental student group was higher than control student group at a statistical significance level at .01.

Article Details

Section
Articles