การศึกษาลักษณะทางเศรษฐกิจที่มีผลต่อผลการเรียนของนักศึกษา

Main Article Content

ชิดตะวัน ชนะกุล

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางเศรษฐกิจและผลการเรียนของนักศึกษา นอกจากนี้ ยังมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา สำหรับข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาเป็นข้อมูลปฐมภูมิ ประชากรเป้าหมายในการศึกษา คือ นักศึกษาคณะบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในการวิจัยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา โดยจำแนกเป็น ข้อมูลทางด้านการใช้จ่าย ความอุตสาหะ ปัจจัยแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคม ภูมิหลังทางการศึกษา รวมถึงเกรดเฉลี่ยปัจจุบัน ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุด

ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะทางเศรษฐกิจของครอบครัว อาทิ รายได้เฉลี่ยต่อเดือนหรือจำนวนเงินที่นิสิตใช้จ่ายในแต่ละเดือนไม่มีความสำคัญกับผลการเรียนของนักศึกษาอย่างมีนัยสำคัญ สำหรับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับเกรดเฉลี่ยปัจจุบันของนักศึกษา ได้แก่ ปัจจัยพฤติกรรมด้านการเรียนของนักศึกษาโดยเฉลี่ย นอกจากนี้ ระดับเกรดเฉลี่ยในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับระดับเกรดเฉลี่ยปัจจุบัน สำหรับตัวแปรการพักอาศัยในหอพัก ซึ่งเป็นตัวแปรหุ่น อธิบายได้ว่า นักศึกษาที่อาศัยอยู่ในหอพักจะมีผลการเรียนต่ำกว่านักศึกษาที่อาศัยอยู่กับผู้ปกครอง

ผลการศึกษาดังกล่าวเป็นไปในทิศทางเดียวกับงานวิจัยที่ผ่านมา (Chittawan Chanagul. 2015) ซึ่งบ่งชี้นัยสำคัญเกี่ยวกับลักษณะทางเศรษฐกิจของครอบครัวว่ามิได้มีอิทธิพลต่อผลสำเร็จทางการศึกษาในกรณีที่ผู้เรียนสามารถสอบเข้าศึกษาหลักสูตรในสถาบันการศึกษาที่มีคะแนนการสอบเข้าที่ใกล้เคียงกัน กล่าวคือ เมื่อผู้เรียนมีศักยภาพทางการเรียนใกล้เคียงกัน ระดับรายได้ ระดับการใช้จ่าย ระดับการศึกษาของผู้ปกครอง รวมถึงลักษณะทางเศรษฐกิจอื่นๆ หาได้มีความสำคัญต่อผลการเรียนของผู้เรียนแต่อย่างใด ในทางกลับกัน ความวิริยะอุตสาหะในการเรียนเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลในเชิงบวกต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของผู้เรียน

 

The Impact of Economic Background on Students’ Learning

This study attempted to explore whether or not family income, as well as family’s spending on education, contribute largely to the accomplishment of a college student. In addition, this paper attempted an empirical exploration of the factors contributing to their successes. The data used were primary data as of December 31, 2014 collected from students enrolled at the Department of Accountancy at Thammasat University, Thailand. To analyze, descriptive data were presented and followed by the regression result.

The major findings are that family incomes as well as other economic backgrounds do not statistically have any impacts on the achievement of the student in terms of GPA. On the other hand, student’s effort is shown to be significant to the student’s achievement. Another factor beneficial to the higher GPA is the student’s GPA from their priors study while a dummy for students living in dormitory is negatively relted to GPA. The results from the study offer resounding evidence, which confirm the previous finding (Chittawan Chanagul. 2015) that economic background does not matter when it comes into learning once a student enters a program with similar admission scores. In other words, when students’ learning competency does not vary, an economic background of the family plays a tiny role in the success of a student. Early development, to be more particular, is key to academic success.

Article Details

Section
Articles