การประเมินหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต พ.ศ. 2553 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

Main Article Content

จิรัญญา บุรีมาศ
ชนาธิป สันติวงศ์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต พ.ศ. 2553 ของคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา การศึกษานี้เก็บข้อมูลระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-สิงหาคม 2558 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 274 คน ประกอบด้วย ผู้สำเร็จการศึกษาอาจารย์ผู้สอน และผู้ใช้บัณฑิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า ผลการประเมินหลักสูตรโดยภาพรวม พบว่า หลักสูตรมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (\inline \dpi{80} \bar{X} = 3.86) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความเหมาะสมในระดับมากทั้ง 4 ด้าน โดยด้านบริบทของหลักสูตรมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (\inline \dpi{80} \bar{X} = 3.95) รองลงมาคือด้านกระบวนการ (\inline \dpi{80} \bar{X} = 3.92) ด้านปัจจัยนำเข้า (\inline \dpi{80} \bar{X} = 3.80) และด้านผลผลิตของหลักสูตร (\inline \dpi{80} \bar{X} = 3.75) ตามลำดับผลการวิจัยครั้งนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงการจัดการศึกษา เช่น การปรับปรุงเนื้อหาสาระของรายวิชาในหลักสูตร และสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

 

The Evaluation of Bachelor of Public Health Program Year 2010 of Faculty of Public Health, Nakhon Ratchasima Rajabhat University

The purpose of this descriptive research was to evaluate the Bachelor of Public Health Program in the academic year 2010 of Faculty of Public Health, Nakhon Ratchasima Rajabhat University. Data were collected from February to August 2015. The instruments for data collection was five-rating scale questionnaire by using CIPP model. The Samples consisted of 274 participants who were graduates, instructors and graduate employers. The data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation and content analysis.

The results indicated that the curriculum appropriate at the high level (\inline \dpi{80} \bar{X} = 3.86). Among the four factors, it was found that the context of the curriculum was scored at the highest level (\inline \dpi{80} \bar{X} = 3.95), followed by process (\inline \dpi{80} \bar{X} = 3.92), input (\inline \dpi{80} \bar{X} = 3.80) and product (\inline \dpi{80} \bar{X} = 3.75) respectively. The findings of this study could be applied for improving the program. For instance, content of the subject and supporting factors should be improved.

Article Details

Section
Articles