ปัญหาส่วนตัวที่เป็นอุปสรรคต่อการทำวิจัย
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล สถานภาพการทำวิจัย และประสบการณ์การอบรมด้านวิจัยที่ส่งผลต่อปัญหาส่วนตัวที่เป็นอุปสรรคต่อการทำวิจัย โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นครูอาจารย์คณะเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ปีการศึกษา 2556 ซึ่งได้มาโดยใช้การสุ่มอย่างง่าย จำนวน 47 คน ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามปัญหาส่วนตัวที่เป็นอุปสรรคต่อการทำวิจัย และปัจจัยที่ส่งผลต่อปัญหาส่วนตัวที่เป็นอุปสรรคต่อการทำวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าสถิติพื้นฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และวิเคราะห์หาอิทธิพลของตัวแปรด้วยการถดถอยแบบโลจิสติก
ผลการวิจัยพบว่า ตัวแปรที่พัฒนาขึ้น ซึ่งประกอบด้วยตัวแปรปัจจัยส่วนบุคคล สถานภาพการทำวิจัย และประสบการณ์การอบรมด้านวิจัย ส่งผลต่อปัญหาส่วนตัวที่เป็นอุปสรรคต่อการทำวิจัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยอายุ ประสบการณ์การเป็นหัวหน้าโครงการวิจัยขององค์กรตนเองและหน่วยงานอื่น ความต้องการทำงานวิจัยกับองค์กรการมีการสอนวิจัยในงาน และประสบการณ์การอบรมด้านวิจัยเป็นตัวชี้วัดตัวแปรปัจจัยส่วนบุคคล สถาน ภาพการทำวิจัย และประสบการณ์การอบรมด้านวิจัย ที่ส่งผลต่อปัญหาส่วนตัวที่เป็นอุปสรรคต่อการทำวิจัยที่หน่วยงานควรตระหนักและเร่งแก้ไข
Barriers to Research : A Survey on the Private Problem
The purpose of this research is to study factors affecting private problem that barriers to research evinced by teachers of Faculty of Social Technology. This sample comprised 47 teachers of Faculty of Social Technology at Rajamangala University of Technology, Isan, in the year 2013. Data was collected by simple random sampling. The instruments included private problem barriers to research questionnaires and factorial cause of private problem barriers to research questionnaires. Data was analyzed by descriptive statistical analysis. Furthermore, the causal model applied by the researcher was analyzed through multiple logistic regression analysis on computer program.
The results revealed that the adjusted causal model having a statistically significant effect on private problem barriers to research. The variables was consistent with personal information, research status and research experience. Additionally, ages, being head of research experience, needs for organizational research, having research teaching, and attending research training are indicators of personal information, research status and research experience. The private problem barriers to research that should be considered for awareness and urgency development in this group can affect those.