ผลการปรึกษาทฤษฎีโปรแกรมภาษาประสาทสัมผัส ต่อพลังสุขภาพจิตของนักเรียนด้อยโอกาส

Main Article Content

ปรารถนา สุขสวัสดิ์
จุฑามาศ แหนจอน
จุฑามาศ แหนจอน

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการปรึกษาทฤษฎีโปรแกรมภาษาประสาทสัมผัสด้วยเทคนิคสัญญาณพลังแบบองค์รวมและเทคนิคการสร้างทรรศนะใหม่ใต้จิตสำนึกแบบองค์รวม ต่อพลังสุขภาพจิตของนักเรียนด้อยโอกาส กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในสถานศึกษาในเขตอำเภอพนมสารคาม ซึ่งได้รับการพิจารณาจากสถานศึกษาว่าเป็นนักเรียนด้อยโอกาส อันเนื่องมาจากถูกทอดทิ้ง หรือมีฐานะยากจน จำนวน 12 คน ที่มีคะแนนพลังสุขภาพจิตต่ำกว่าเปอร์เซ็นไทล์ที่ 25 และสมัครใจเข้าร่วมการทดลอง สุ่มอย่างง่ายเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดพลังสุขภาพจิต ฉบับภาษาไทย และโปรแกรมการปรึกษาทฤษฎีโปรแกรมภาษาประสาทสัมผัสแบบรายบุคคลด้วยเทคนิคสัญญาณพลังแบบองค์รวมและเทคนิคการสร้างทรรศนะใหม่ใต้จิตสำนึกแบบองค์รวมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โปรแกรมการปรึกษามี 3 ครั้ง ใช้เวลาครั้งละ 40-60 นาที การเก็บรวบรวมข้อมูลแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ ประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่ม และหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่ม ทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการของนิวแมน-คูลส์ ผลการวิจัยพบว่า มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการทดลอง กับระยะเวลาการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนด้อยโอกาสในกลุ่มทดลองมีคะแนนพลังสุขภาพจิตสูงกว่ากลุ่มควบคุมในระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนกล่มุ ทดลองมีพลังสุขภาพจิตในระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล สูงกว่าระยะก่อนกาทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

Effects of Nero-Linguistic Programming Counseling on Resilience of Disadvantaged Students

The purpose of this research was to study the effects of Neuro Linguistic Programming counseling on resilience of disadvantaged students. The samples composed of 12 students who studied in Phanomsarakram district, who were considered from school that they were disadvantaged students and had resilience scores below than 25th percentile, willing to participate in this research.

The simple random sampling was utilized to assign the sample into two groups: 1) an experimental group and 2) a control group with 6 members in each. The instruments in this research were the Connor-Davidson Resilience Scale (CD-RISC) and the Neuro Linguistic Programming counseling program with the Global Anchoring (GA) and Global Unconscious Reframing (GUR) technique, which were designed by the researcher. The counseling program consisted of 3 sessions, 40-60 minutes per/ session. The research design was repeat- ed measures variance: One between- and one within-subjects variables. The study was divided into three phases: the pretest phase, the posttest phase and the follow-up phases. The data were statically analyzed by utilizing a repeated measures analysis of variance and paired-different test by Newman-Keuls procedure.

The results revealed that the interaction between the method and duration of the experiment was found of being statistically significant difference at .05 level. The disadvantaged students in the experimental group had the resilience scores in both the post-test and the follow up phases higher than those in the control group significant difference at .05 level. The disadvantaged students in the experimental group had the resilience scores in the posttest and the follow-up phases higher than the pretest phase significant difference at .05 level.

Article Details

Section
Articles