การศึกษาผลการเรียนรู้และการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 จากการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ในประเด็นดังนี้ 1.1) เปรียบเทียบพัฒนาการด้านสติปัญญาของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา 1.2) เปรียบเทียบคุณภาพชิ้นงานของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 หลังการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษากับเกณฑ์ร้อยละ 70 2) เปรียบเทียบการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนบ้านโสง (คุรุประชาสรรค์) ตำบลหนองยาง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2 จำนวน 19 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โดยได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาจำนวน 4 หน่วย 2) แบบวัดพัฒนาการด้านสติปัญญา 3) แบบประเมินชิ้นงาน 4) แบบวัดการคิดแก้ปัญหา จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test dependent) และการทดสอบ runs test
ผลการศึกษา พบว่า 1) ผลการเรียนรู้ด้านพัฒนาการด้านสติปัญญาของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 หลังการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาสูงกว่าก่อนจัดประสบการณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลการเรียนรู้ด้านคุณภาพชิ้นงานของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 หลังการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาสูงกว่าก่อนจัดประสบการณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
References
กิติพงษ์ ลือนาม. (2561). วิธีวิทยาการวิจัยทางการศึกษา. นครราชสีมา: โคราชมาร์เก็ตติ้งแอนด์โปรดักชั่น.
เกตุมณี เหมรา. (2558). การจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษาเรื่องของดีเมืองร้อยเอ็ดเพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย (ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).
ข่าวการศึกษาสยามรัฐ. (16 สิงหาคม 2560). เปิดหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2560. สยามรัฐ. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2562, จาก https://siamrath.co.th/n/21473
จุฬารัตน์ ธรรมประทีป และชนิพรรณ จาติเสถียร. (2560). การพัฒนาวิชาชีพครูแบบร่วมมือเรื่อง STEM สำหรับครูปฐมวัย. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ., 10(2), น. 35-53.
ชลาธิป สมาหิโต. (2558). การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาในระดับการศึกษาปฐมวัย. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 30(2), น. 102-111.
ช่อทิพย์ มารัตนะ และวาสนา กีรติจำเริญ. (2561). การศึกษาผลการเรียนรู้วัสดุและสมบัติของวัสดุของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา. วารสารชุมชนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 12(3), น. 149-162.
ชาติชาย ปิลวาสน์. (2544). การศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยโดยใช้กระบวนการวางแผน ปฏิบัติ ทบทวน (ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรี นครินทรวิโรฒ).
นัฐภรณ์ แตงอ่อน. (2549). การพัฒนาเครื่องมือวัดความสามารถด้านสติปัญญาสำหรับนักเรียนระดับปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยทักษิณ).
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). พื้นฐานการวิจัย. กาฬสินธ์: ประสานการพิมพ์.
ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2551). การพัฒนาการคิด. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ห้างหุ้นส่วนจำกัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
ประสาท เนืองเฉลิม. (2561). สะเต็มศึกษากับสไตส์การเรียนรู้ตามแนวคิด Kolb. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 11(2), น. 11-17.
ปิยพร ค้าสุวรรณ และชลาธิป สมาหิโต. (2558). ผลการจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยที่มีต่อความสามารถในการคิดแก้ปัญหา. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 31(3), น. 175-185.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และคณะ. (2558). ศาสตร์การคิด รวมบทความเรื่องการคิดและการสอนคิด. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
โรงเรียนบ้านโสง (คุรุประชาสรรค์). (2560). รายงานการประเมินตนเอง (SAR) ระดับการศึกษาปฐมวัย ปีการศึกษา 2560. นครราชสีมา: โรงเรียนบ้านโสง (คุรุประชาสรรค์).
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). (2558). STEM คู่มือหลักสูตรอบรมครูสะเต็มศึกษา. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.).
สมบูรณ์ ตันยะ. (2545). เอกสารคำสอนรายวิชาการวิจัยทางการศึกษา. นครราชสีมา: ครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
_______. (2556). วิธีวิทยาการวิจัยทางการศึกษา. นครราชสีมา: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
สุพรรณี ชาญประเสริฐ. (2557). สะเต็มศึกษากับการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. นิตยสาร สสวท., 42(186), น. 3-5.
อุไรวรรณ ภูจ่าพล. (2560). การศึกษาผลการเรียนรู้หน่วยการเรียนรู้ไฟฟ้าและแม่เหล็กไฟฟ้าของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา).
อุไรวรรณ ภูจ่าพล และวาสนา กีรติจำเริญ. (2561). การศึกษาผลการเรียนรู้หน่วยการเรียนรู้ไฟฟ้าและแม่เหล็กไฟฟ้าของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 12(1), น. 243-250.