ความสัมพันธ์ระหว่างการสูบบุหรี่กับปัญหาสุขภาพช่องปาก ของประชาชนอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

Main Article Content

มารุต ภู่พะเนียด
กมลทิพย์ อึ้งสุวรรณพานิช

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยแบบตัดขวาง (Cross sectional study) โดยจะศึกษาคุณลักษณะส่วนบุคคล พฤติกรรมการสูบบุหรี่ และปัญหาสุขภาพช่องปาก ทำการศึกษาประชาชนที่สูบบุหรี่ในเขตอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยศึกษาในกลุ่มตัวอย่างจำนวน 390 คน แบ่งเป็นกลุ่มสูบบุหรี่ และกลุ่มไม่สูบบุหรี่ กลุ่มละ 195 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและการตรวจสุขภาพช่องปาก และวิเคราะห์ข้อมูลโดย สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) ได้แก่ ความถี่ และร้อยละ และหาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการสูบบุหรี่ และปัญหาสุขภาพช่องปากโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก (Logistic regression analysis) ผลการวิจัย พบว่า ผู้สูบบุหรี่ส่วนใหญ่มีระยะเวลาการสูบบุหรี่น้อยกว่า 10 ปี ร้อยละ 45.13 เฉลี่ย 12 ปี มีความถี่ของการสูบบุหรี่ตั้งแต่ 5 วันขึ้นไปต่อสัปดาห์ ร้อยละ 69.23 และมีปริมาณการสูบบุหรี่ 10-19 มวนต่อวัน ร้อยละ 43.08 เฉลี่ย 10.20 มวนต่อวันมีฟันแท้ผุ ร้อยละ 77.69 ผุ อุด ถอน เฉลี่ย 6.16 ซี่ต่อคน และมีความผิดปกติของสภาวะปริทันต์ ร้อยละ 69.11 เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการสูบบุหรี่และปัญหาสุขภาพช่องปาก พบว่า ผู้สูบบุหรี่มีโอกาสเกิดฟันแท้ผุมากว่าผู้ไม่สูบบุหรี่ 2.88 เท่าและผู้สูบบุหรี่มีโอกาสเกิดสภาวะผิดปกติของอวัยวะปริทันต์มากกว่าผู้ไม่เคยสูบบุหรี่ 3.89 เท่า ทั้งนี้ปริมาณการสูบบุหรี่ต่อวัน ความถี่ต่อสัปดาห์ และระยะเวลาสูบเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดปัญหาสุขภาพช่องปากทั้งสิ้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้มีปัญหาสุขภาพช่องปากควรลดหรืองดหรือเลิกบุหรี่ เพื่อลดความรุนแรงของปัญหาสุขภาพช่องปากที่อาจเพิ่มขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

จุรีย์ อุสาหะ, ฐิติพร กันวิหค, เศรณีย์ จุฬาเสรีกุล และวิไลลักษณ์ หฤหรรษพงศ์. (2558). การสังเคราะห์อภิมานงานวิจัยปัจจัยป้องกันพฤติกรรมการสูบบุหรี่ในเยาวชนไทย. นนทบุรี: สำนักควบคุมการบริโภคยาสูบ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). สถิติสุขภาพ: พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2561, จาก http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/05.aspx
สำนักทันตสาธารณสุข. (2556). รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 7 ประเทศไทย พ.ศ. 2555. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
สำนักทันตสาธารณสุข. (2561). รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: สามเจริญพานิชย์.
ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ. (2559). สถานการณ์การควบคุมการบริโภคยาสูบของประเทศไทย พ.ศ.2559. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ มหาวิทยาลัยมหิดล.
Bernabe, E., Delgado-Angulo, E.K., Vehkalahti, M.M., Aromaa, A. & Suominen, A.L. (2014). Daily smoking and 4-year caries increment in Finnish adults. Community Dent Oral Epidemiol, 42, 428–434.
Jang A.Y., Lee J.W., Shin J.W., & Lee H.Y. (2016). Association between smoking and periodontal disease in korean adults. Korean J Fam Med, 37(2), 117-122.
Reibel, J. (2003). Tobacco and oral diseases. Update on the evidence, with recommendations. Med Princ Pract, 12(1), 22-32.
Sen, N., Asawa, K., Bhat, N., Tak, M. & Sultane, P. (2018). A comparative assessment of caries risk using cariogram among smokers and smokeless tobacco users in india - a cross-sectional study. African Health Sciences, 18(4), 1046-1056.