ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนิสิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนิสิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 2) เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนิสิต 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลกับการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนิสิต และ 4) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนิสิตกลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำนวนทั้งหมด 455 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์เส้นทางด้วยโปรแกรมลิสเรล 8.72
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนิสิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาโดยรวมอยู่ในระดับมาก
2. ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนิสิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โดยรวมทุกตัวแปรอยู่ในระดับมาก
3. สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเชิงสาเหตุกับการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนิสิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา มีความสัมพันธ์ในทิศทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. รูปแบบความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนิสิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (c2=102.08, df= 121, p=0.89, c2/df=0.84, GFI=0.98, AGFI=0.96, CFI=1.00, NFI=1.00, RMR=0.00, RMSEA=0.00) ปัจจัยเชิงสาเหตุทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ การจัดการเรียนรู้ ลักษณะผู้สอน ลักษณะเพื่อน ลักษณะพ่อแม่ผู้ปกครอง และลักษณะผู้เรียนสามารถทำนายการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนิสิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาได้ร้อยละ 83.00 ปัจจัยเชิงสาเหตุทั้งหมด มีอิทธิพลทางตรงต่อการเรียนรู้อย่างมีความสุข ลักษณะผู้สอนมีอิทธิพลทางอ้อมส่งผ่านการจัดการเรียนรู้และลักษณะผู้เรียน การจัดการเรียนรู้ ลักษณะเพื่อน และลักษณะพ่อแม่ผู้ปกครองมีอิทธิพลทางอ้อมส่งผ่านลักษณะผู้เรียน โดยลักษณะผู้สอน และลักษณะเพื่อนมีอิทธิพลรวมต่อการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนิสิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาสูงที่สุด รองลงมาเป็นลักษณะพ่อแม่ผู้ปกครอง การจัดการเรียนรู้และลักษณะผู้เรียน ตามลำดับ
Article Details
References
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นฤมล อึ้งเจริญ. (2552). การศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างปัจจัยบางประการกับการเรียนรู้ในชั้นเรียนอย่างมีความสุขของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มกรุงธนบุรี สังกัดกรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการวิจัยและสถิติทางการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
บพิตร อิสระ. (2550). การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของการเรียนรู้อย่างมีความสุข ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการวิจัยการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เบญจมาพร อุ่นสุข. (2552). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบางประการกับการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิจัยและสถิติทางการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ.
ประสงค์ ปุกคำ. (2554). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้อย่างมีความสุข ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการวิจัยทางการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
แพรวพรรณ์ พิเศษ. (2548). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีผลต่อการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีวิจัยการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
มารุต พัฒผล. (2546). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบางประการกับความสุขในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดสุพรรณบุรี. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิจัยและสถิติทางการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วราศิริ วงศ์สุนทร. (2543). การเรียนรู้อย่างมีความสุข : การวิจัยรายกรณี ครูต้นแบบด้านการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการวิจัยการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศักดิ์สิทธิ์ สีหลวงเพชร. (2544). ผลการประยุกต์ใช้รูปแบบการสอนการเรียนรู้อย่างมีความสุขในการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ศันสนีย์ ฉัตรคุปต์ และคณะ. (2544). การเรียนรู้อย่างมีความสุข : สารเคมีในสมองกับความสุขและการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : สกายบุคส์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2540). โครงการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน : ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความสุข ต้นแบบการเรียนรู้ทางด้านหลักทฤษฏีและแนวทางปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : ไอเดียสแควร์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2544). เรียนอย่างนี้มีความสุข. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน). (2547). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช 2545. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค .
Krejcie, R. V. and V. D. Morgan. (1970). Determining sample size for research activities. New Jersey : Scarecrow.