การศึกษาความสามารถในการอ่านจับใจความและพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ร่วมกับแผนผังความคิด

Main Article Content

วชรธีร์ ภารไชโยพันธ์
วิราวรรณ์ ชาติบุตร

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเพื่อศึกษาความสามารถในการเรียนและพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม  โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ร่วมกับแผนผังความคิด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ: 1) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ก่อนเรียนและหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70  และ 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียน ก่อนเรียนกับหลังเรียน คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหนองตาแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 18 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 6 แผน แบบวัดความสามารถในการอ่านจับใจความและแบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิติทดสอบค่าที  (t-test for dependent) และสถิติทดสอบค่าที (t-test for one sample) ผลการวิจัย พบว่า 1) ความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  โดยคะแนนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  และ 2) คะแนนพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

กฤษณา พงษ์วาปี. (2550). การศึกษาความสามารถในการอ่านและเขียนภาษาไทยและทักษะ
การทำงานร่วมกันของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้แบบ
ร่วมมือ เทคนิค CIRC. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา).
กิตติพงษ์ ลืมนาม. (2561). วิธีวิทยาการวิจัยทางการศึกษา. นครราชสีมา: โคราชมาร์เก็ตติ้ง
แอนด์ โปรดักชั่น.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2552). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ:
แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.
ธนู ทดแทนคุณ และกุลวดี แพทย์พิทักษ์. (2548). ภาษาไทย 1. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
นฤพร คำศรีแก้ว. (2557). การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความและการเขียนภาษาไทย
โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค CIRC สำหรับนักเรียนชนเผ่า
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย).
พเยาว์ สิ่งวี. (2551). ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ด้านการอ่านจับใจความ โดยใช้เทคนิค CIRC สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
โรงเรียนวัดดอนไก่เตี้ย. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี).
พลศิริ นาควัชระ. (2557). พื้นฐานการใช้ภาษาไทย. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏ
วไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.
พันธุ์ทิพา หลาบเลิศบุญ. (2550). ภาษาไทย 3. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพ: จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
วนิดา อารมณ์เพียร. (2552). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ความคงทน
ในการเรียนรู้ เรื่อง การหารทศนิยม และพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม ของนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 6 จากการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค STAD และเทคนิค TGT.
(วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา).
สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์. (2562). การอ่านจับใจความ. นนทบุรี:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
อัจฉรา พงษ์เย็น. (2556). การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญภาษาไทย ของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้วิธี ซี ไอ อาร์ ซี. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต,
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).
Johnson, R. (1994). Leading the cooperative school. Edina, Minn: Interaction Book.
Slavin, R. E. (1987). Cooperative learning : Theory research and practice. Boston:
Allyn& Bacon.