คุณภาพการบริการตามการรับรู้ของนิสิตสาขาการจัดการโรงแรมต่อธุรกิจโรงแรมห้าดาวในจังหวัดขอนแก่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการรับรู้คุณภาพบริการของโรงแรมห้าดาวในจังหวัดขอนแก่นของนิสิตสาขาการจัดการโรงแรม (2) เปรียบเทียบระดับการรับรู้คุณภาพบริการกับปัจจัยส่วนบุคคลของนิสิตสาขาการจัดการโรงแรม (3) หาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้คุณภาพการบริการกับปัจจัยส่วนบุคคลของนิสิตสาขาการจัดการโรงแรมการศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเป็นความคิดเห็นเกี่ยวกับการรับรู้คุณภาพการบริการให้เลือกตอบแบบประมาณค่า 5 ระดับ คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด โดยมีเนื้อหาประกอบด้วยคุณลักษณะ 5 ประการของคุณภาพการบริการ ได้แก่ ด้านความเป็นรูปธรรม ด้านความน่าเชื่อถือไว้วางใจ ด้านการตอบสนองต่อลูกค้า ด้านการให้ความมั่นใจแก่ลูกค้า และด้านความเห็นอกเห็นใจ แบบสอบถามผ่านการวัดค่าความตรงของเนื้อหา จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน ด้วยค่าดัชนีความสอดคล้องของข้อคำถามกับจุดประสงค์เท่ากับ 0.91 และหาค่าความเชื่อมั่นของ Cronbach’ alpha ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 เก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากรทั้งหมดซึ่งเป็นนิสิตชั้นปีที่ 1 จำนวน 106 คน สถิติที่ใช้ คือ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Independent t-test และ Chi-square ผลการวิจัย พบว่า ระดับการรับรู้ต่อคุณภาพบริการทั้งในภาพรวมและรายด้าน ทุกด้านอยู่ในระดับสูงนิสิตที่มีอายุแตกต่างกันมีการรับรู้คุณภาพบริการโดยรวมและด้านความเห็นอกเห็นใจแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) ปัจจัยด้านอายุมีความสัมพันธ์กับการรับรู้คุณภาพบริการโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05)
Article Details
References
ผู้ใช้บริการโรงแรมในเขตเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี.วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 10(1),
น. 216-238.
เกรียงชัย รุ่งฟ้าใหม่. (2561). คุณลักษณะของหลักสูตรการเรียนการสอนที่ดีมีคุณภาพใน
ระดับอุดมศึกษา: มุมมองของนักศึกษาสาขาการท่องเที่ยวและบริการ. วารสาร
ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 41(3), น. 65-76.
คมสิทธิ์ เกียนวัฒนาและคณะ. (2562). การรับรู้ความเสี่ยงของนักท่องเที่ยวเจนเนอเรชั่นแซดต่อ
การจองโรงแรมที่พักทางอินเทอร์เน็ต. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 11(2), น. 25-36.
จรรจิรา ดาราชติ และไพฑูรย์ มนต์พานทอง. (2561). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะนักศึกษา
สาขาวิชาการโรงแรมของสถานศึกษาอาชีวศึกษาภูเก็ต ตามกรอบคุณวุฒิวิชาชีพเพื่อตอบสนองความคาดหวังของสถานประกอบการ. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 13(45), น. 21-32.
ณัฏฐพงษ์ ฉายแสงประทีป. (2561). คุณภาพบริการของธุรกิจโรงแรมในจังหวัดมหาสารคาม.
วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 13(1), น. 98-106.
ไพลิน บรรพโต. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความต้องการเลือกประกอบอาชีพในอุตสาหกรรม
บริการและการท่องเที่ยว. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
วิเชียร เกตุสิงห์. (2538). “ค่าเฉลี่ยกับการแปลความหมาย: เรื่องง่าย ๆ ที่บางครั้งก็พลาดได้”
วารสารข่าวสารการวิจัยการศึกษา, 18(3), น. 8-10.
ศุภลักษณ์ สุริยะ และเทิดชาย ช่วยบำรุง. (2556). แนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริการของ
แผนต้อนรับส่วนหน้าโรงแรมเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวอาเซียน กรณีศึกษา: โรงแรมบูติก
กรุงเทพมหานคร.วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ (ฉบับบมนุษยศาสตร์และ
สังคมศาสตร์), 3(1), น. 5-18.
สันติกร มาลัยพันธ์. (2558). แนวทางการปรับปรุงคุณภาพการบริการของวิชชิ่ง ทรี รีสอร์ท อำเภอ
เมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มข., 8(1), น. 171-190.
อนิรุทธิ์ ผ่องแผ้วและคณะ. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าใช้บริการโรงแรมห้าดาวใน
กรุงเทพมหานคร. วารสารรัชต์ภาคย์, 14(36), น. 163-172.
Chollada Mongkhonvanit & Rattanaporn Chattiwong. (2018). Customer Expectation and
Perception of the Service Quality of Front Office Staff in Five Star Hotels.
Journal of Thai Hospitality and Tourism, 13(2), pp. 78-89.
Girish Prayag & Giacomo Del Chiappa. (2014). Hotel disintermediation in France:
perceptionsof students from GenerationY. An international Journal of Tourism and HospitalityResearch, 25 (3), pp. 417-430.
Parasuraman A., Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. (1985). A Conceptual Model of Service
Quality and Its Implications for Future Research. Journal of Marketing, 49(4)
(Fall), pp. 41-50.
Nurul Syaqirah, Z & Putra Faizurrahman, Z. (2013). Managing Customer Retention of
Hotel Industry in Malaysia. Procedia Social and Behavioral Sciences, 130, pp. 379-389.