การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ ด้วยวิธีการสอนอ่านแบบพาโนรามา (PANORAMA) ร่วมกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

จิตตินันท์ สุวรรณภาพ
ทรงภพ ขุนมธุรส

บทคัดย่อ

       การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ด้วยวิธีสอนอ่านแบบพาโนรามาร่วมกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านการเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70  2) เปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านก่อนและหลังการเรียน  และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียน ประชากร คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนพุทธมงคลวิทยา จ.อุทัยธานี กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 จำนวน 14 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้  แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ 3) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การอ่านเชิงวิเคราะห์ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{X}) ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)และการทดสอบค่า t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์หลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  2) ความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ หลังการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการสอนอ่านแบบพาโนรามาร่วมกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

1.กรมวิชาการ. (2546). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
2.กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
3.กิดานันท์ มลิทอง. (2548). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.
4.ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2558). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. (พิมพ์ครั้งที่ 6). นนทบุรี: พี บาลานซ์ดีไซด์แอนปริ้นติ้ง.
5.ทิศนา แขมมณี. (2547). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
6.ปิยตา พงศ์สุชาติ. (2556). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้วิธีสอนแบบ PANORAMA รรร่วมกับเทคนิค KWLH Plus กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ กศ.ม., มหาวิทยาลัยทักษิณ, สงขลา.
7.โรงเรียนพุทธมงคลวิทยา. (2563). รายงานการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน.อุทัยธานี: โรงเรียนพุทธมงคลวิทยา.
8.วัชรี บูรณสิงห์ และนิรมล ศตวุฒิ. (2542). การอ่านเชิงวิเคราะห์วิจารณ์ด้านหลักสูตรและการสอน. กรุงเทพฯ: ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
9.แวววิไล จำปาศักดิ์. (2560). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ลักษณนาม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ กศ.ม., มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.
10.ศิริพร บุญเรือง. (2556). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดดอนหวาย (นครรัฐประสาท). วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 6(1), 770-781.
11.อัญชลี โยธาทิพย์ และปริณ ทนันชัยบุตร. (2560). การพัฒนาความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์และการเขียนสื่อความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้วิธีการสอนแบบ PANORAMA ร่วมกับเทคนิค STAD. วิทยานิพนธ์ กศ.ม., มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.