ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในจังหวัดนครพนม

Main Article Content

ณัฏฐณิชา พลศรีดา
วาโร เพ็งสวัสดิ์
เอกลักษณ์ เพียสา

บทคัดย่อ

       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2) ศึกษาระดับประสิทธิผลการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กกับประสิทธิผลการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 4) ศึกษาอำนาจพยากรณ์ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และ 5) ศึกษาแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้อำนวยการกองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม นักวิชาการศึกษา หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และครูผู้ดูแลเด็ก จำนวน 307 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน
       ผลการวิจัย พบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก 2)ประสิทธิผลการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก  3) ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กกับประสิทธิผลการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ด้านการแก้ไขปัญหา ด้านความยืดหยุ่น และด้านจินตนาการ สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 5) แนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีจำนวน 3 แนวทาง  คือ การแก้ไขปัญหา ด้านความยืดหยุ่น และด้านจินตนาการ

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

กันยากร จินสีดาและนิยดา เปี่ยมพืชนะ. (2561). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ขอนแก่น. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 8(2), 229-241.
กิตติ์กาญจน์ ปฏิพันธ์. (2555). โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เตชินณ์ อินทบำรุง (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียนตามการรับรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษา ประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 11(1), 178-187.
ปิยะมาศ อัมมะพะ. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของนักบริหารการศึกษากับประสิทธิผลศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ในจังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ ค.ม. อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
“พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ,” ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 116 ตอนที่ 74 ก. หน้า 1-23.16 สิงหาคม 2542.
โพสต์ทูเดย. (2559). พระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่: ประทีบแห่งการศึกษา. เข้าถึงได้จาก https : //www.posttoday.com/kingbhumibol/thebelovedking/8
9 สิงหาคม 2563.
“รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย,” ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก. 6 เมษายน 2562.
วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2551). วิธีวิทยาการวิจัย. กรุงเทพฯ: สุรีวิยาสาส์น.
สมจิตร ชูศรีสาสและหทัย น้อยสมบติ. (2562). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม. 9(3), 53-61.