ผลของกิจกรรมจิตตปัญญาศึกษาที่มีต่อการเห็นคุณค่าในตนเองของพนักงานโรงแรม

Main Article Content

เขมจิรา ธรรมสอน
ประยุทธ ไทยธานี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบการเห็นคุณค่าในตนเองของพนักงานกลุ่มทดลอง ก่อนและหลังการทดลอง 2) เปรียบเทียบการเห็นคุณค่าในตนเองหลังการทดลองระหว่างพนักงานกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ พนักงานโรงแรมแห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา ที่มีอายุงานมากกว่าหรือเท่ากับ 1 ปีขึ้นไป และสมัครใจเข้าร่วมการวิจัย โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง จำนวน 10 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมจิตตปัญญาศึกษา จำนวน 2 วัน วันละ 6 ชั่วโมง และแบบวัดการเห็นคุณค่าในตนเอง ที่มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 4 ระดับ จำนวน 24 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .756 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการทดสอบค่าที


ผลการวิจัย พบว่า


1. หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนการเห็นคุณค่าในตนเองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


2.  หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนการเห็นคุณค่าในตนเองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

ชลลดา ทองทวี และคณะ. (2551). การสำรวจและสังเคราะห์ความรู้จิตตปัญญาศึกษาเบื้องต้น (รายงานวิจัย). กรุงเทพ: ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล.

ณัฐกานต์ ธีระลีลา. (2563). Self-Esteem (การเห็นคุณค่าในตัวเอง). สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2564, จาก https://asian-identity.com/hr-egg-th/eggblog/self-esteem.

ธนา นิลชัยโกวิทย์. (2551). จิตตปัญญาศึกษา: การศึกษาเพื่อการพัฒนาความเป็นมนุษย์. ใน หนังสือรวบรวมบทความการประชุมวิชาการประจำปี 2551 กรุงเทพฯ: ศูนย์จิตตปัญญาศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล.

บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน). (2559). พนักงานของบริษัท. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2564, จาก https://www.gpscgroup.com/th/sustainability/social/ workforce-development-and-well-being.

เบญจม์ภัทร์ แสงโสฬส. (2560). การปรับตัวของนักศึกษาระบบทวิภาคีในบริษัท แพรนด้าจิวเวลรี่ จำกัด (มหาชน) ที่มีระดับการเห็นคุณค่าในตนเองแตกต่างกัน (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา).

ปราณี อ่อนศรี. (2557). จิตตปัญญาศึกษา: การศึกษาเพื่อการพัฒนามนุษย์ในศตวรรษที่ 21. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(1), น. 7-11.

ปรารถนา ช้อนแก้ว. (2542). การพัฒนาความภาคภูมิใจในตนเองของเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครอง เด็กและเยาวชน จังหวัดระยอง โดยใช้กิจกรรมการออกกำลังกายเป็นสื่อ (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ ประสานมิตร).

วิจักขณ์ พานิช. (2550). เรียนรู้ด้วยใจอย่างใคร่ครวญ. กรุงเทพฯ: สวนเงินมีมา.

วันเพ็ญ หาหอม. (2563). ผลของจิตตปัญญาศึกษาที่มีต่อกรอบความคิดเติบโตของพนักงาน (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา).

สิริรัตน์ นาคิน. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมจริยธรรมสำหรับ นักศึกษาวิชาชีพครู: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

Rosenberg, M. (1979). Conceiving the Self. New York: Basic Books.

Tessa, M. R. & Christine, A. W. (2011). Mindfulness, Self-Care, and Wellness in Social Work: Effects of Contemplative Training. Canada: Hull child and family services.

Weiss, A. (1995). Human capital vs. Signaling explanations of wages. Journal of Economic Perspectives, 9(4), pp. 133-154.