ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ของนักศึกษาหญิงระดับอุดมศึกษา จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

ธนิดา ผาติเสนะ
จิรารัตน์ วิเศษสัตย์
ธิดาพร งวดชัย
อัจฉราพรรณ ไทยภักดี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ของนักศึกษาหญิงระดับอุดมศึกษา 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ของนักศึกษาหญิงระดับอุดมศึกษากลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาหญิงระดับอุดมศึกษาชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 340 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า  1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 42.4) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการเข้าถึงข้อมูล และบริการสุขภาพ และด้านการสื่อสารเพื่อเพิ่มความเชี่ยวชาญทางสุขภาพอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 64.1, 72.9) ด้านการจัดการเงื่อนไขสุขภาพตนเอง ด้านการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ ด้านความรู้ความเข้าใจทางสุขภาพ และด้านการตัดสินใจเลือกปฏิบัติที่ถูกต้องอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 54.1, 50.3, 49.7, 46.2 ตามลำดับ) ส่วนพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ อยู่ในระดับ ปานกลาง (ร้อยละ 44.7)  2) ความรอบรู้ด้านสุขภาพด้านความรู้ความเข้าใจทางสุขภาพ และการตัดสินใจเลือกปฏิบัติมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันการตั้งครรภ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .124, .503, p < .05)

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

กรมอนามัย, สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์. (2562). สถานการณ์อนามัยเจริญพันธุ์ในวัยรุ่นและเยาวชน. ปี 2562 สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2563 จาก https://rh.anamai.moph.go.th/th/cms-of-1/139307

กระทรวงสาธารณสุข, กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ, กองสุขศึกษา และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.(2557). ประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรสำหรับสตรีไทยวัยรุ่น อายุ 15-21 ปี. นนทบุรี: ผู้แต่ง.

ดลพัฒน์ ยศธร. (2558). ปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อม. สืบค้นเมื่อ 26 สิงหาคม 2560 จาก http://www.familynetwork.or.th.

นันทิวา สิงห์ทอง และคณะ. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรของวัยรุ่นหญิงโรงเรียนแห่งหนึ่งจากในเมือง จังหวัดนครราชสีมา. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 7 วิทยาลัยนครราชสีมา วันที่ 23 พฤษภาคม 2563. นครราชสีมา, น. 1106-1115.

ปริยานุช ตั้งนรกุล, ศิริยุพา สนั่นเรืองศักดิ์ และนฤมล ธีระรังสิกุล. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่าง ความรอบรู้ด้านสุขภาพทางเพศกับพฤติกรรมทางเพศของนักเรียนหญิงชั้นมัธยมตอนต้น. วารสารแพทย์นาวี, 46(3), น. 607-620.

ยุวดี งอมสงัด, รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์ และพรนภา หอมสินธุ์. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในนักเรียนวัยรุ่นหญิงจังหวัดศรีสะเกษ. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 14(2), น. 37-51.

ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา, กรมอนามัย. (2559). แนวทางการดูแลและส่งต่อวัยรุ่นตั้งครรภ์ เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์และการแท้งไม่ปลอดภัย เขตนครชัยบุรินทร์. นครราชสีมา: อินดี้ อาร์ต.

อาเนช โออิน. (2559). ความฉลาดทางสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของคนไทยที่มีอายุ15 ปีขึ้นไป อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง. วารสารการวิจัยการพัฒนาการบริหาร, 9(1), น. 113-132.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Educational and Psychological Measurement. New York: Minnesota University.

Nutbeam, D. (2009). Defining and measuring health literacy: what can we learn from literacy studies? Int. J Public Health, 54(5), pp. 303-305.