การตรวจสอบความตรงของโมเดลสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้แบบเคลื่อนที่ (Mobile Learning) ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

Main Article Content

อิราวรรส พูนผล
สุมาลี ชัยเจริญ
ศราวุธ จักรเป็ง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาความตรงของโมเดลสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้แบบเคลื่อนที่ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อตรวจสอบความตรงภายใน และความตรงภายนอกของโมเดลสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้แบบเคลื่อนที่ฯ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 12 คน และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 6 คน รูปแบบการวิจัย คือ การวิจัยโมเดล ระยะที่ 2 การตรวจสอบความตรงของโมเดล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์โปรโตคอล  สรุปตีความ และสถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) มีความตรงภายในทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านเนื้อหา ด้านสื่อ และด้านการออกแบบโมเดล โดยมีคุณภาพ และมีความเหมาะสม สอดคล้องกับหลักการทฤษฎี และกรอบแนวคิดในทุกองค์ประกอบ 2) มีความตรงภายนอก ซึ่งแสดงได้จากผลกระทบของโมเดลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน คือ (1) ความคิดสร้างสรรค์ซึ่งประกอบด้วย 4 ด้าน คือ ด้านความคิดคล่องแคล่ว ด้านความคิดยืดหยุ่น ด้านความคิดริเริ่ม และด้านความคิดละเอียดลออ (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ (3) ความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อโมเดลโดยเห็นว่ามีความเหมาะสม ช่วยส่งเสริมในการสร้างความรู้และส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

จันทรา ด่านคงรักษ์. (2563). การพัฒนาการสอนทักษะการคิดสร้างสรรค์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ใจทิพย์ ณ สงขลา. (2561). การออกแบบการเรียนแนวดิจิทัล = Digital learning design. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิญญารัศม์ สิงหะ และสุมาลี ชัยเจริญ. (2562). การตรวจสอบความตรงของโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการแก้ปัญหา โดยบูรณาการศาสตร์การสอนกับศาสตร์ทางประสาทวิทยาศาสตร์. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 30(1), น. 27-29.

วีระพล พลีสัตย์. (2562). การพัฒนาโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้การจำลองสถานการณ์ ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการตัดสินใจ สำหรับนักศึกษาสาขาเทคโนโลยีไฟฟ้าอุตสาหกรรม (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

ศรเพชร สีหะราช. (2560). การพัฒนาโมเดลสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์เพื่อส่งเสริมการแก้ปัญหาสำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศลาว (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

อรวรรณ เตชะพรพงษ์.(2559).การพัฒนาโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ โดยบูรณาการศาสตร์การสอนกับประสาทวิทยาศาสตร์ (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

Chang, Y. S., Chen, S. Y., Yu, K. C., Chu, Y. H. & Chien, Y. H. (2017). Effects of cloud-based m-learning on student creative performance in engineering design. British Journal of Educational Technology, 48(1), pp. 101-112.

Chen, Y. L. (2020). Students’ Attitude Toward Learning and Practicing English in a VR Environment. In Huang, T. C., Wu, T. T., Barroso, J., Sandnes, F. E., Martins, P. and Huang, Y. M. (Eds.). Innovative Technologies and Learning: Third International Conference ICITL 2020 Proceedings (pp. 128-136). Cham: Springer.

Elfeky, A. H. & Masadeh, T. (2016). The Effect of Mobile Learning on Students' Achievement and Conversational Skills. International Journal of Higher Education, 5(3), pp. 20-31.

Mirzianov, O., Mitasiunas, A., Novickis, L. & Ragaisis, S. (2017). Development and Validation of Learning Process Assessment Model. In Ginters, E., Kohlhammer, J. (Eds.). Procedia Computer Science ICTE 2016 Proceedings (pp.258-265). Amsterdam: Elsevier.

Richey, R. C. & Klein, J. (2007). Design and developmental research. New Jersey: Lawrence.