ความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เรื่อง อาหารและโภชนาการของนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์เป็นหัวใจสำคัญในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการประเมินความรู้และสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนทั้งในระดับชาติและนานาชาติ ในงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในภาพรวมและรายสมรรถนะที่เรียนในรายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักเรียน จำนวน 201 คน ได้มาจากการเลือกตามสะดวก (Convenience sampling) โดยใช้แบบวัดความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เรื่อง อาหารและโภชนาการ ซึ่งเป็นแบบทดสอบแบบเลือกตอบ เลือกตอบเชิงซ้อน และเขียนตอบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า ในภาพรวมพบว่า ระดับความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ในทุกระดับนั้น นักเรียนส่วนใหญ่ (190 คน) จะมีอยู่ในระดับปานกลาง (ระดับ 2) โดยไม่พบว่ามีคนใดอยู่ในระดับสูงสุด (ระดับ 5-6) และคะแนนเฉลี่ยในแต่ละสมรรถนะต่ำกว่าร้อยละ 50 โดยสมรรถนะการอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทย์ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด และการประเมินและการออกแบบกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กุลธิดา ชนาภิมุข. (2561). การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เรื่อง การเจริญเติมโตของพืชดอก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร).
กระทรวงสาธารณสุข. (2562). คลังความรู้ กระทรวงสาธารณสุข. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2564, จาก http://klb.ddc.moph.go.th/
ชาตรี ฝ่ายคำตา. (2552). การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 11(1), น. 32-45.
ชวนพิศ คณะพัฒน์. (2559). ผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดการใช้ปัญหานำทางและการวิพากษ์วิจารณ์ทางสังคมและแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสังคม เพื่อส่งเสริมการรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 6(11), น. 67-79.
นวลพรรณ ไชยชนะ. (2564). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามที่ส่งผลต่อความสามารถในการอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารบัณฑิตวิจัย, 12(2), น. 31-44.
พุทธริธร บูรณสถิตวงศ์. (2559). การสำรวจสมรรถนะการอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์และสมรรรถนะการแปลความหมายข้อมูลและประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ตามกรอบการประเมิน PISA 2015 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แห่งหนึ่งในจังหวัดพิษณุโลก. วิจัยและนวัตกรรม ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม, 13(1), น. 1019-1031.
พรเทพ จันทราอุกฤษฎ์. (2556). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยบูรณาการรูปแบบการสืบสอบแบบโต้แย้งและแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการรู้วิทยาศาสตร์และความมีเหตุผลของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
โรงพยาบาลเกษมราษฎร์. (2557). อาหารกับสุขภาพ. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2564, จาก https://www.kasemrad.co.th/Sriburin/th/site/health_articles/detail/351
วรรณพงษ์ สุทธิเวสน์วรากุล. (2563). การวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาสัตว์โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการสืบเสาะ แบบโต้แย้ง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 11(2), น. 254-279.
สุนีย์ คล้ายนิล. (2555). การศึกษาวิทยาศาสตร์ไทย: การพัฒนาและภาวะถดถอย. กรุงเทพฯ: แอดวานส์ พริ้นติ้ง เซอร์วิช.
สุนีย์ คล้ายนิล, ปรีชาญ เดชศรี และอัมพลิกา ประโมจนีย์. (2551). ความรู้และสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์สำหรับวันพรุ่งนี้. กรุงเทพฯ: เซเว่นพริ้นดิ้ง กรุ๊ป.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2545). การจัดการเรียนรู้กลุ่ม วิทยาศาสตร์หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2561). ผลการประเมิน PISA 2015 วิทยาศาสตร์ การอ่านและคณิตศาสตร์ ความเป็นเลิศและความเท่าเทียมกันทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: ซัคเซสพับลิเคชัน.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2562). วิทยาศาสตร์กายภาพ เล่ม 1. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2563). ผลการประเมิน PISA 2018: นักเรียนไทยวัย 15 ปี รู้และทำอะไรได้บ้าง. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2564, จาก https://pisathailand.ipst.ac.th/issue-2019-48/
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สินีนาฏ จันทะภา. (2563). “ฐานสมรรถนะ” และ “ความฉลาดรู้” คำสำคัญที่ควรตระหนักการดำเนินงานของ สสวท. เพื่อ “ยกระดับการศึกษาไทย” ให้ก้าวทันสู่ศตวรรษที่ 21. นิตยสาร สสวท., 49(227), น. 3-6.
Arief, M. K. and Utari, S. (2015). Implementation of Levels of Inquiry on Science Learning to Improve Junior High School Student’s Scientific Literacy Penerapan Levels of Inquiry Pada Pembelajaran Ipa Untuk Meningkatkan Literasi Sains Siswa Smp. Journal Pendidikan Fisika, 11(2), pp. 117-125.
Hodson, D. (2008). Towards scientific literacy: A teacher’s guide to the history, philosophy and sociology of science. Rotterdam: Sense.
Lewis, L. (2003). Environmental Modeling and Issue-Based Teaching in Science Education. Retrieved May 5, 2020, from http://www.actionbioscience.org/education/lewis.html
Organization for Economic Co-operation and Development (OECD). (2016). PISA 2015 Assessment and Analytical Framework: Science, Reading, Mathematic and Financial Literacy. Paris: OECD Publishing.
Organization for Economic Co-operation and Development (OECD). (2019). PISA 2018 Assessment and Analytical Framework. Paris: OECD.
Surpless, B., Bushey, M. & Halx, M. (2014). Developing scientific literacy in introductory laboratory courses: A model for course design and assessment. Journal of Geoscience Education, 62(2), pp. 244-263.
United Nations. (2015). Sustainable development goal 4. Retrieved May 5, 2020, from https://sustainabledevelopment.un.org/sdg4
Zeidler, D. L. and Keefer, M. (2003). The role of moral reasoning and the status of Socioscientific issues in science education. Netherlands: Kluwer Academic.