ค่านิยมการคำนึงถึงคนรุ่นหลังและเจตคติด้านสิ่งแวดล้อมต่อผลิตภัณฑ์สีเขียวของผู้บริโภคในกลุ่มเจเนอเรชั่นที่แตกต่างกัน: กรณีศึกษาจังหวัดนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ค่านิยมการคำนึงถึงคนรุ่นหลัง 2) เจตคติด้านสิ่งแวดล้อม และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างค่านิยมการคำนึงถึงคนรุ่นหลังและเจตคติด้านสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคในกลุ่มเจเนอเรชั่นที่แตกต่างกัน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของครอแครน กรณีไม่ทราบจำนวนประชากร รวบรวมข้อมูลด้วยแบบวัดค่านิยมการคำนึงถึงคนรุ่นหลัง และแบบวัดเจตคติด้านสิ่งแวดล้อม จากผู้บริโภคชาวไทยในพื้นที่เขตอำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 385 คน โดยแบ่งออกเป็น 4 เจเนอเรชั่น คือ เจเนอเรชั่น B จำนวน 35 คน เจเนอเรชั่น X จำนวน 95 คน เจเนอเรชั่น Y จำนวน 150 คน และเจเนอเรชั่น Z จำนวน 105 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงอนุมาน โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน กำหนดค่าระดับนัยสำคัญทางสถิติ .01
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้บริโภคในกลุ่มเจเนอเรชั่นที่แตกต่างกันมีค่านิยมการคำนึงถึงคนรุ่นหลัง ไม่แตกต่างกัน 2) ผู้บริโภคในกลุ่มเจเนอเรชั่นที่แตกต่างกันมีเจตคติด้านสิ่งแวดล้อมในแง่ของความถี่ในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารในช่องทางการรับรู้ข้อมูล และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สีเขียวแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แต่มีกระบวนทัศน์ใหม่เชิงนิเวศไม่แตกต่างกัน และ3) ผู้บริโภคในกลุ่มเจเนอเรชั่นที่แตกต่างกันมีความสัมพันธ์เชิงลบในระดับสูงกับกระบวนทัศน์ใหม่เชิงนิเวศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) เท่ากับ - 0.789
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2561). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติเพื่อการตัดสินใจ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ขวัญชีวา ไตรพิริยะ (2559). การรับรู้ ความรู้ และการยอมรับเทคโนโลยีโทรทัศน์ชุมชนของพื้นที่ชุมชนชายแดนภาคตะวันออก ประเทศไทย, วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์, 10(2), น. 233-258.
ชนากานต์ อุณาพรหม. (2565). พฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคในตำบลโพนงาม อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 32(2), น. 32-49.
ชูศรี วงค์รัตนะ. (2560). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 3 ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฐณิชา นิสัยสุข และขวัญกมล ดอนขวา. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภค, วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 9(2). น. 57-67.
ไณยณันทร์ นิสสัยสุข. (2559). ค่านิยม ทัศนคติ และพฤติกรรมการซื้ออผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).
มัลลิกา บุนนาค. (2555). สถิติเพื่อการวิจัยและตัดสินใจ (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รัชนีกร ด่านศิริชัยสวัสดิ์. (2560). การศึกษาเจตคติด้านสิ่งแวดล้อม: กระบวนทัศน์ใหม่เชิงนิเวศ. วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 7(2), น. 13-30.
ศิริจรรยา เครือวิริยะพันธ์ และโอปอล์ สุวรรณเมฆ. (2563). การศึกษารูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้บริโภคกลุ่มเจเนอเรชั่นแซท. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ, 11(1), น. 23-43.
อาภา เอกวานิช และบุหงา ชัยสุวรรณ. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อ ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม.วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช, 32(1), น. 125-140.
Allport, G. (1935). Attitudes: handbook of social psychology. Worcester: MA-Clark University Press.
Becker, E. (1973). The denial of death. New York: Free Press.
Cochran, W. G. (1953). Sampling techiques. New York: John Wiley & Sons.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (3rd ed.). New York: Harper & Collins.
Dunlap, R. E. (2008). The New Environmental Paradigm scale: from marginality to worldwide use. The Journal of Environmental Education, 40(1), pp. 3-18.
Dunlap, R. E., Van Liere, K. D., Mertig, A. G. & Jones, R. E. (2000). New trends in Measuring environmental attitudes: measuring endorsement of the New Ecological Paradigm: A revised NEP scale. Journal of Social Issues, 56(3), pp. 425-42.
Erikson, E. H. (1950). Childhood and society. New York: Norton.
Inthasang, C., Sinthusiri, N. & Chaisena, Y. (2020). Green Product and Green Perceived Value Effect on Purchase Intentions. WMS Journal of Management, 9(3), pp. 31-41.
Jump, N. (1978). Psychometric theory. (2nd ed.). New York: McGraw Hill.
Likert, R. (1976). The human organization; its Management and Value. New York: Mc Graw-Hill.
McAdams, D. P. & Aubin, E. D. (1992). A theory of generativity and its assessment through self-report, behavioral acts, and narrative themes in autobiography. Journal of Personality and Social Psychology, 62, pp. 1003-1015.
Schiffman, L.G., Kanuk, L. L. (1994). Consumer behavior. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.