การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบนำตนเองเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์อย่างสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

ปิยะกาญจน์ เทพบุดดี
ปริญา ปริพุฒ
สมถวิล ขันเขตต์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาการนำกิจกรรมการเรียนรู้แบบนำตนเอง มาใช้แก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์แบบสร้างสรรค์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบนำตนเอง เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ 2) ศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้กิจกรรม และ 4) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อกิจกรรม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 1 ห้องเรียน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม จากหน่วยสุ่ม 6 ห้องเรียน โรงเรียนบุณฑริกวิทยาคาร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 12 แผน แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว แบบวัดซ้ำ


ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบนำตนเอง ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ซึ่งประเมินความเหมาะสมโดยผู้เชี่ยวชาญมีค่าเฉลี่ย 4.45 อยู่ในระดับมาก 2) ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์มีพัฒนาการสูงขึ้น 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). ผลการประเมิน PISA 2018 การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

กุงซัมรัช ยอร์น. (2560). การพัฒนาการสอนผ่านเว็บแบบนำตนเอง เพื่อส่งเสริมทักษะภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).

โกมินทร์ บุญชู. (2560). การศึกษาการกำกับตนเองและการรับรู้ความสามารถของตนเองที่มีต่อ ความวิตกกังวลในการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (วิทยานิพนธ์ มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม).

เขมกร อนุภาพ. (2560). การใช้การเรียนรู้แบบนำตนเองเพื่อพัฒนาการเรียนรู้วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์).

เขมณัฏฐ์ มิ่งศิริธรรม. (2552). การเรียนรู้ด้วยการนำตนเองบนเครือข่าย Self-directed Learning on web-based Learning. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 32(1), น. 6-13.

จิราพร จิตกุย. (2560). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์การสอนด้วยกลวิธีการกำกับตนเอง วิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี).

ทาริกา สมพงษ์. (2563). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการกำกับตนเอง เรื่อง ชนิดและหน้าที่ของคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (วิทยานิพนธ์ มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร).

เทพบุตร หาญมนตรี. (2563). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เเบบร่วมมือเทคนิคเพื่อนคู่คิด เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเเก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ดอกเบี้ยและมูลค่าของเงิน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

นิวัฒน์ สาระขันธ์. (2564). สอนอย่างไรให้นักเรียนเกิดทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์. Journal of Roi Kaensarn Academy, 6(4), น. 203-218.

ปริญา ปริพุฒ. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้ส่วนบุคคลเพื่อส่งเสริม ความเป็นผู้เรียนรู้อย่างเชี่ยวชาญ (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

วรัญญา นิลรัตน์. (2563). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ดอกเบี้ยและมูลค่าของเงิน (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี).

วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: เจริญการพิมพ์.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2564). การเรียนรู้แบบนำตนเองเชิงสร้างสรรค์ (Creative self-directed learning). ม.ป.ท.: ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2565). สรุปผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2565, จากhttps://www.niets.or.th/uploads/editor/files/O-NET/rapid%20report%20M 6-2564.pdf

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2563). การแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ (Creative Problem Solving). นิตยสาร สสวท., 48(222), น. 24-26.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2561-2580 (ฉบับย่อ). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สุชีรา ศุภพิมลวรรณ. (2563). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดการสร้างความรู้เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

Beyer, B. K. (1987). Practical strategies for the teaching of thinking. Boston: Allyn and Bacon.

Nemati, P., Gawrilow, C., Nuerk, H. C. and Kühnhausen, J. (2020). Self-Regulation and Mathematics Performance in German and Iranian Students of More and Less Math-Related Fields of Study. Frontiers in Psychology, 11(1), pp. 1-13.

Saied, B. (2021). The cultivation of self-directed learning in teaching mathematics World. Journal on Educational Technology: Current Issues, 13(1), pp. 82-95.