ความฉลาดทางดิจิทัลของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อดิจิทัล ความฉลาดทางดิจิทัล และเปรียบเทียบความฉลาดทางดิจิทัลของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จำแนกตามเพศ ชั้นปี คณะ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ภาคปกติ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จำนวน 480 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
ผลการศึกษา พบว่าพฤติกรรมการใช้สื่อดิจิทัลของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาการเข้าใช้สื่อดิจิทัลต่อวันของนักศึกษาส่วนใหญ่ คิดเป็นร้อยละ 32.71 ต่อวัน โดยใช้ในช่วงเวลาเย็นมากที่สุด สื่อดิจิทัลที่นักศึกษาเข้าใช้มากที่สุด คือ เฟซบุ๊ก คิดเป็นร้อยละ 10.74 วัตถุประสงค์หลักในการใช้สื่อดิจิทัลมากที่สุด คือ ใช้ในการดูหนัง ดูวิดีโอ นอกจากนี้พบว่านักศึกษามีความฉลาดทางดิจิทัล ระดับมาก (= 3.81) และเมื่อการเปรียบเทียบความฉลาดทางดิจิทัลของนักศึกษา จำแนกตามเพศและระดับชั้นปี พบว่า ไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาคณะและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่าความฉลาดทางดิจิทัลของนักศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมสุขภาพจิต. (2560). สำรวจพฤติกรรมเสพติดเกม. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2563, จาก https://dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=26433
นัฐิยา พัวพงศกร. (2563). เผยสถิติเด็กไทยถูก “ไซเบอร์บูลลี่” หนัก! ค่าเฉลี่ยติดอันดับโลก. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2563, จาก https://teroasia.com/news/194261?ref=news
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
พระมหาสายัณห์ เปมสีโล, สำราญ ศรีคำมูล และสนิท วงปล้อมหิรัญ. (2566). การศึกษาความฉลาดทางดิจิทัลของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในศตวรรษที่ 21 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย. วารสารรัฐศาสตร์ มหามกุฏราชวิทยาลัย, 3(3), น. 71-90.
พัชญ์สิตา เหลี่ยมทองคำ และนมิดา ซื่อสัตย์สกุลชัย. (2561). พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษาในรายวิชาปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้และสิ่งประดิษฐ์ ครั้งที่ 2 (น. 115-123). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีธัญบุรี.
พัทธนันท์ เสนาจักร และลักขณา สริวัฒน์. (2563). การศึกษาความฉลาดทางดิจิทัลในระดับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนโรงเรียนสารคามพิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 11(1), น. 31-44.
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน. (2564). จำนวนนักศึกษา. สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2564, จาก https://apro.nrru.ac.th/
วลัญชพร ทุ่งสงค์ และลักขณา สริวัฒน์. (2562). การศึกษาความฉลาดทางดิจิทัลในระดับความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสารคามพิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 10(3), น. 19-34.
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2563). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2563 Thailand Internet User Behavior 2020. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
DQ Institute. (2019). Digital Intelligence. Retrieved December 10, 2020, from https://www.dqinstitute.org/wpcontent/uploads/2019/10/DQGlobalStandardsReport2019.pdf
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J. & Anderson, R. E. (2014). Multivariate Data Analysis (7th ed.). Essex: Pearson Education.
Hatlevik, O. E., Ottestad, G. & Throndsen, I. (2015). Predictors of Digital Competence in 7th Grade: A Multilevel Analysis. Journal of Computer Assisted Learning, 31(3), pp. 220-231.
Stiakakis, E., Liapis, Y. & Vlachopoulou, M. (2019). Developing an Understanding of Digital Intelligence as a Prerequisite of Digital Competence. MCIS 2019 Proceedings. (pp. 1-14). Naples, Italy: AISel.