การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

เบญจวรรณ เหงกระโทก
สิรินาถ จงกลกลาง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานก่อนและหลังเรียน และหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70  2) เปรียบเทียบการคิดอย่างมีวิจารณญาณก่อนและหลังเรียน และ 3) ศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1  ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565  โรงเรียนปักธงชัยประชานิรมิต จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 29 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แบบสังเกตสภาพการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน และแบบบันทึกการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน แต่หลังเรียนไม่สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) การคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  และ 3) สภาพการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน พบว่า ชั้นเรียนมีบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ นักเรียนมีบทบาทในการเรียนรู้ กระตือรือร้น มีอิสระในการคิด เกิดการแสดงความคิดที่หลากหลายและมีปฏิสัมพันธ์ที่ดี

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กิติพงษ์ ลือนาม. (2564). วิธีวิทยาการวิจัยทางการศึกษา. นครราชสีมา: โคราชมาร์เก็ตติ้ง แอนด์ โปรดักชั่น.

จิราภรณ์ บุญวิจิตร, ปริญา ปริพุฒ และปิยาภรณ์ พิชญาภิรัตน์. (2565). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน เพื่อส่งเสริมการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ เรื่อง สถิติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารราชพฤกษ์, 21(1), น. 106-120.

ทรงชัย อักษรคิด. (2564). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน (Phenomenon Based Learning). กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ทัณฑธร จุ้ยสวัสดิ์, นพมณี เชื้อวัชรินทร์ และปริญญา ทองสอน. (2564). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์, 22(1), น. 1-17.

บรรจง อมรชีวิน. (2556). Critical Thinking การคิดอย่างมีวิจารณญาณ. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

พงศธร มหาวิจิตร. (2560). นวัตกรรมการศึกษาจากฟินแลนด์. นิตยสาร สสวท, 46(209), น. 40-45.

พงศธร มหาวิจิตร. (2564). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน (Phenomenon-based Learning). กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร แห่งประเทศไทย.

สมบูรณ์ ตันยะ. (2556). วิธีวิทยาการวิจัยทางการศึกษา. นครราชสีมา: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

สิรินาถ จงกลกลาง. (2562). วิทยาการจัดการเรียนรู้ (พิมพ์ครั้งที่ 2). นครราชสีมา: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

สุคนธ์ สินธพานนท์ และคณะ. (2558). การจัดการเรียนรู้ของครูยุคใหม่เพื่อพัฒนาทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

สุนันท์ สีพาย. (2564). การพัฒนาเครื่องมือรวบรวมข้อมูลการวิจัยทางการศึกษา. ชัยภูมิ: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

หัสวนัส เพ็งสันเทียะ, มนตา ตุลย์เมธาการ และอิทธิพัทธ์ สุวทันพรกูล. (2564). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานที่มีต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 13(2), น. 240-257.

อรพรรณ บุตรกตัญญู. (2561). การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อการสร้างมุมมองแบบองค์รวมและการเข้าถึงโลกแห่งความเป็นจริงของผู้เรียน. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 46(2), น. 348-365.

อัมพร ม้าคนอง. (2559). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์: การพัฒนาเพื่อพัฒนาการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Daehler, R. K. & Folsom, J. (2016). Making Sense of Science Phenomena-Based Learning. Retrieved October 21, 2022, from http://www.WestEd.org/mss

Silander, P. (2015). “Digital Pedagogy” How to Create the School of the Future: Revolutionary Thinking and Design from Finland. Oulu: Oulu University.

Silander, P. (2015). Phenomenon-based learning. Retrieved February 26, 2022, from http://www.phenomenaleducation.info/phenomenon-based-learning.html

Zhukov, T. (2015). Phenomenon-Based Learning: What is PBL? Retrieved October 15, 2022, from http://www.noodle.com/articles/Phenomenon-Based-learning-what-is-pbl.